กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

พย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน พระราชนิพนธ์ โดย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒

เป็นความชอบส่วนตัวของผมเองครับ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเด็กสมัยนี้รู้จักกันหรือเปล่า

กาพย์เห่เรือ
พระราชนิพนธ์ โดย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒

• เห่ชมเครื่องคาว

๏ แกงไก่มัสมั่นเนื้อ นพคุณ พี่เอย
หอมยี่หร่ารสฉุน เฉียบร้อน
ชายใดบริโภคภุญช์ พิศวาส หวังนา
แรงอยากยอหัตถ์ข้อน อกให้หวนแสวง ๚

๏ มัสมั่นแกงแก้วตา หอมยี่หร่ารสร้อนแรง
ชายใดได้กลืนแกง แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา
๏ ยำใหญ่ใส่สารพัด วางจานจัดหลายเหลือตรา
รสดีด้วยน้ำปลา ญี่ปุ่นล้ำย้ำยวนใจ
๏ ตับเหล็กลวกหล่อนต้ม เจือน้ำส้มโรยพริกไทย
โอชาจะหาไหน ไม่มีเทียบเปรียบมือนาง
๏ หมูแนมแหลมเลิศรส พร้อมพริกสดใบทองหลาง
พิศห่อเห็นรางชาง ห่างห่อหวนป่วนใจโหย
๏ ก้อยกุ้งปรุงประทิ่น วางถึงลิ้นดิ้นแดโดย
รสทิพย์หยิบมาโปรย ฤๅจะเปรียบเทียบทันขวัญ
๏ เทโพพื้นเนื้อท้อง เป็นมันย่องล่องลอยมัน
น่าซดรสครามครัน ของสวรรค์เสวยรมย์
๏ ความรักยักเปลี่ยนท่า ทำน้ำยาอย่างแกงขม
กลอ่อมกล่อมเกลี้ยงกลม ชมไม่วายคล้ายคล้ายเห็น
๏ ข้าวหุงปรุงอย่างเทศ รสพิเศษใส่ลูกเอ็น
ใครหุงปรุงไม่เป็น เช่นเชิงมิตรประดิษฐ์ทำ
๏ เหลือรู้หมูป่าต้ม แกงคั่วส้มใส่ระกำ
รอยแจ้งแห่งความขำ ช้ำทรวงเศร้าเจ้าตรากตรอม
๏ ช้าช้าพล่าเนื้อสด ฟุ้งปรากฏรสหื่นหอม
คิดความยามถนอม สนิทเนื้อเจือเสาวคนธ์
๏ ล่าเตียงคิดเตียงน้อง นอนเตียงทองทำเมืองบน
ลดหลั่นชั้นชอบกล ยลอยากนิทรคิดแนบนอน
๏ เห็นหรุ่มรุมทรวงเศร้า รุ่มรุ่มเร้าคือไฟฟอน
เจ็บไกลในอาวรณ์ ร้อนรุมรุ่มกลุ้มกลางทรวง
๏ รังนกนึ่งน่าซด โอชารสกว่าทั้งปวง
นกพรากจากรังรวง เหมือนเรียมร้างห่างห้องหวน
๏ ไตปลาเสแสร้งว่า ดุจวาจากระบิดกระบวน
ใบโศกบอกโศกครวญ ให้พี่เคร่าเจ้าดวงใจ
๏ ผักโฉมชื่อเพราะพร้อง เป็นโฉมน้องฤๅโฉมไหน
ผักหวานซ่านทรวงใน ใคร่ครวญรักผักหวานนาง ๚

• เห่ชมผลไม้

๏ ผลชิดแช่อิ่มโอ้ เอมใจ
หอมชื่นกลืนหวานใน อกชู้
รื่นรื่นรสรมย์ใด ฤๅดุจ นี้แม
หวานเลิศเหลือรู้รู้ แต่เนื้อนงพาล ๚

๏ ผลชิดแช่อิ่มอบ หอมตรลบล้ำเหลือหวาน
รสไหนไม่เปรียบปาน หวานเหลือแล้วแก้วกลอยใจ
๏ ตาลเฉาะเหมาะใจจริง รสเย็นยิ่งยิ่งเย็นใจ
คิดความยามพิสมัย หมายเหมือนจริงยิ่งอยากเห็น
๏ ผลจากเจ้าลอยแก้ว บอกความแล้วจากจำเป็น
จากช้ำน้ำตากระเด็น เป็นทุกข์ท่าหน้านวลแตง
๏ หมากปรางนางปอกแล้ว ใส่โถแก้วแพร้วพรายแสง
ยามชื่นรื่นโรยแรง ปรางอิ่มอาบซาบนาสา
๏ หวนห่วงม่วงหมอนทอง อีกอกร่องรสโอชา
คิดความยามนิทรา อุราแนบแอบอกอร
๏ ลิ้นจี่มีครุ่นครุ่น เรียกส้มฉุนใช้นามกร
หวนถวิลลิ้นลมงอน ชะอ้อนถ้อยร้อยกระบวน
๏ พลับจีนจักด้วยมีด ทำประณีตน้ำตาลกวน
คิดโอษฐ์อ่อนยิ้มยวน ยลยิ่งพลับยับยับพรรณ
๏ น้อยหน่านำเมล็ดออก ปล้อนเปลือกปอกเป็นอัศจรรย
มือใครไหนจักทัน เทียบเทียมที่ฝีมือนาง
๏ ผลเกดพิเศษสด โอชารสล้ำเลิศปาง
คำนึงถึงเอวบาง สางเกศเส้นขนเม่นสอย
๏ ทับทิมพริ้มตาตรู ใส่จานดูดุจเม็ดพลอย
สุกแสงแดงจักย้อย อย่างแหวนก้อยแก้วตาชาย
๏ ทุเรียนเจียนตองปู เนื้อดีดูเหลือเรืองพราย
เหมือนศรีฉวีกาย สายสวาทพี่ที่คู่คิด
๏ ลางสาดแสวงเนื้อหอม ผลงอมงอมรสหวานสนิท
กลืนพลางทางเพ่งพิศ คิดยามสารทยาตรามา
๏ ผลเงาะไม่งามแงะ มล่อนเมล็ดและเหลือปัญญา
หวนเห็นเช่นรจนา จ๋าเจ้าเงาะเพราะเห็นงาม
๏ สละสำแลงผล คิดลำต้นแน่นหนาหนาม
ท่าทิ่มปิ้มปืนกาม นามสละมละเมตตา ๚

• เห่ชมเครื่องหวาน

๏ สังขยาหน้าไข่คุ้น เคยมี
แกมกับข้าวเหนียวสี โศกย้อม
เป็นนัยนำวาที สมรแม่ มาแม
แถลงว่าโศกเสมอพ้อม เพียบแอ้อกอร ๚

๏ สังขยาหน้าตั้งไข่ ข้าวเหนียวใส่สีโศกแสดง
เป็นนัยไม่เคลือบแคลง แจ้งว่าเจ้าเศร้าโศกเหลือ
๏ ซ่าหริ่มลิ้มหวานล้ำ แทรกใส่น้ำกะทิเจือ
วิตกอกแห้งเครือ ได้เสพหริ่มพิมเสนโรย
๏ ลำเจียกชื่อขนม นึกโฉมฉมหอมชวยโชย
ไกลกลิ่นดิ้นแดโดย โหยไห้หาบุหงางาม
๏ มัศกอดกอดอย่างไร น่าสงสัยใคร่ขอถาม
กอดเคล้นจะเห็นความ ขนมนามนี้ยังแคลง
๏ ลุดตี่นี้น่าชม แผ่แผ่นกลมเพียงแผ่นแผง
โอชาหน้าไก่แกง แคลงของแขกแปลกกลิ่นอาย
๏ ขนมจีบเจ้าจีบห่อ งามสมส่อประพิมพ์ประพาย
นึกน้องนุ่งจีบกราย ชายพกจีบกลีบแนบเนียน
๏ รสรักยักลำนำ ประดิษฐ์ทำขนมเทียน
คำนึงนิ้วนางเจียน เทียนหล่อเหลาเกลากลึงกลม
๏ ทองหยิบทิพย์เทียมทัด สามหยิบชัดน่าเชยชม
หลงหยิบว่ายาดม ก้มหน้าเมินเขินขวยใจ
๏ ขนมผิงผิงผ่าวร้อน เพียงไฟฟอนฟอกทรวงใน
ร้อนนักรักแรมไกล เมื่อไรเห็นจะเย็นทรวง
๏ รังไรโรงด้วยแป้ง เหมือนนกแกล้วทำรังรวง
โอ้อกนกทั้งปวง ยังยินดีด้วยมีรัง
๏ ทองหยอดทอดสนิท ทองม้วนมิดคิดความหลัง
สองปีสองปิดบัง แต่ลำพังสองต่อสอง
๏ งามจริงจ่ามงกุฏ ใส่ชื่อดุจมงกุฏทอง
เรียมร่ำคำนึงปอง สะอิ้งน้องนั้นเคยยล
๏ บัวลอยเล่ห์บัวงาม คิดบัวกามแก้วกับตน
ปลั่งเปล่งเคร่งยุคล สถนนุชดุจประทุม
๏ ช่อม่วงเหมาะมีรส หอมปรากฏกลโกสุม
คิดสีสไลคลุม หุ้มห่อม่วงดวงพุดตาน
๏ ฝอยทองเป็นยองใย เหมือนเส้นไหมไข่ของหวาน
คิดความยามเยาวมาลย์ เย็บชุนใช้ไหมทองจีน ๚

ปกิณกะ

ปฏิปทาพระธุดงคกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถร ประวัติความเป็นมาและปฏิปทา
ของพระธุดงคกรรมฐาน – วิปัสสนาธุระของประเทศไทย จากเว็บกองทัพธรรมพระกรรมฐาน

กองทัพธรรมฝ่ายวิปัสสนาธุระในสมัยพระบุรพาจารย์แห่งยุค เล่าถึงประวัติของคณะสงฆ์ธรรมยุต ความเป็นมาของพระธุดงคกรรมฐานในประเทศไทย และการเผยแผร่ธรรมของคณะพระกรรมฐาน โดยพระญาณวิศิษฏ์ ( สิงห์ ขันฺตยาคโม ) พระอริยคุณาธาร ( เส็ง ปุสฺโส ) จากนิตยสารโลกทิพย์ ฉบับที่ ๒๗ ปีที่ ๓ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๒๗

วัดป่าบ้านหนองผือ เล่าถึงประวัติความเป็นมาพร้อมภาพประกอบของวัดป่าบ้านหนองผือ ( ปัจจุบัน วัดป่าภูริทัตตถิราวาส ) คัดจากหนังสือบูรพาจารย์ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒

ถ้ำสาริกา : อนุสรณ์แห่งความกล้าหาญในธรรม วัดถ้ำสาริกา อ.เมือง จ.นครนายก

ปกิณกธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น เล่าถึงเหตุการณ์ที่น่าสนใจในช่วงที่ท่านจำพรรษา ณ วัดป่าบ้านหนองผือ ช่วง ๕ พรรษาสุดท้าย คัดจากหนังสือบูรพาจารย์ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒

เคลื่อนขบวนสู่ความจริง เล่าถึงเหตุการณ์ในช่วงปัจฉิมสมัยขององค์หลวงปู่ ขณะอาราธนาองค์หลวงปู่จากวัดป่าบ้านหนองผือสู่วัดป่าสุทธาวาส คัดจากหนังสือบูรพาจารย์ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒

ยามปัจฉิมกาลหลวงปู่มั่น พรรณนาถึงเหตุการณ์ในช่วงสุดท้ายของชีวิตหลวงปู่มั่น

อุปนิสัยท่านพระอาจารย์มั่น บันทึกโดยหลวงปู่หลุย จนฺสาโร

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเสด็จมาสืบข้อเท็จจริง ในกรณีเมื่อมีผู้กล่าวหาถึงความประพฤติของพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ

ตามรอยเส้นทางธรรม ๙ ปีสุดท้ายในสกลนคร ร่วมเดินไปยังดินแดนแห่งธรรม “สกลนคร ” เว็บไซต์หลวงปู่มั่นฯ ภูมิใจนำเสนอ

หนังสือ รวมหนังสือที่ผู้จัดทำเว็บไซต์ใช้ในการรวบรวมประวัติ ธรรมะ และรูปภาพหลวงปู่มั่น แนะนำหนังสือที่จะใช้ค้นคว้าประวัติขององค์ท่านต่อไป

WWW.LUANGPUMUN.ORG

กลอนดอกสร้อยความรัก

••ความเอ๋ยความรัก เกินจะหักห้ามใจยามใฝ่หา
รักของฉันยิ่งใหญ่กว่านภา ที่ให้มาเป็นรักจากดวงใจ
เมื่อต้องแยกทางกับเธอสุดที่รัก เศร้ายิ่งนักแล้วน้ำตาพลานจะไหล
มีแต่เธอสุดที่รักในฤทัย เพียงหนึ่งใจ หนึ่งคน เท่านั้นพอ
ฉันจะรอแต่เธอที่ฉันรัก เพียงเธอพักหัวใจที่ฉันหนอ
อีกไม่นานคงมาถึงวันที่รอ ฉันจะขอรักเธอนิจนิรันดร์เอย

เรือนไทยทักษิณา

แต่งงานแบบไทย | เรือนไทยทักษิณา

รับจัดงานแต่งงานแบบไทย | เรือนไทยทักษิณา

ด้วยแนวคิดเจ้าของสถานที่นี้ ที่ต้องการสร้างธรรมชาติเพื่อการอนุรักษ์ อย่างยั่งยืนสืบไป ชั่วลูกชั่วหลานและสังคมรอบข้าง จึงได้ปรับเปลี่ยนสวนยางพารามาเป็นสวนมังคุดโดยแซมด้วย ไม้ผลไม้
ประดับนานาพรรณ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ เริ่มแรกมิได้มีเป้าหมายให้สถานที่นี้ เพื่อการพาณิชย์ ด้วยได้รับเกียรติจากหลายๆ หน่วยงาน แวะเวียนมาเยี่ยมชม พักพิง และจัดค่ายสร้างสรรค์ และงานต่างๆ เช่น งานแต่งงานที่ต้องการแต่งงานแบบไทย เกิดขึ้นที่นี่บ่อยครั้งตั้งแต่บ้านเรือนไทยแล้วเสร็จ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้นมา
หลายท่านได้มาสัมผัสและเข้าใจถึงเจตนารมณ์ของเจ้าของบ้านเรือนไทยทักษิณา ที่ได้ตั้งใจคงความเป็นไทย กินอย่างไทย อยู่อย่างไทย จึงได้ร่วมกันพัฒนาและสร้างสรรค์เรือนไทยทักษิณา เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติ เรียนรู้แบบฉบับวัฒนธรรมไทย พิธีแต่งงานแบบไทย และจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้การท่องเที่ยวอำเภอชะอวดสืบไป ตรงดังเจตนาที่แฝงไว้ ในนามว่า “เรือนไทยทักษิณา”

รูปที่ 1 สถานที่จัดงานแต่งงานแบบไทย เรือนไทยทักษิณา

เรือนไทยทักษิณา ให้บริการสถานที่จัดงานแต่งงานแบบไทย (thai traditional weddings) ครบวงจรตามแบบฉบับของพิธีแต่งงานตามวัฒนธรรมไทย พิธีหมั้นแบบไทย พิธีแต่งงานแบบไทย พิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ จัดเลี้ยงฉลองกลางวัน และช่วงเย็น พร้อมอาหารไทย สามารถรับรองแขกผู้มีเกียรติได้ตั้งแต่ 50 – 500 ท่าน ประกอบไปด้วย เรือนไทย 1 หลัง เรือนพักรับรอง 12 หลัง บรรยากาศร่มรื่นแบบไทย ภายในสวนผลไม้ไทย สถานที่จอดรถสบาย เดินทางสะดวก ติดถนนสายเอเชีย

รูปที่ 2 สถานที่จัดงานแต่งงานแบบไทย เรือนไทยทักษิณา
วีดีโอ ภาพบรรยากาศ การแต่งงานแบบไทยที่เรือนไทยทักษิณา

วีดีโอ ภาพบรรยากาศ การแต่งงานแบบไทยที่เรือนไทยทักษิณา

รับจัดงานแต่งงานแบบไทย

จัดงานแต่งงานแบบไทย ที่เรือนไทยทักษิณาราคาเพียง 49,000 บาท ( Thai Traditional Wedding Ceremony Package Only 49,000 Bath )

แต่งงานแบบไทย ที่เรือนไทยทักษิณาเพียง 49,000 บาทเท่านั้น

ขั้นตอนการจัดงานแต่งงานแบบไทย

สถานที่จัดงานแต่งงานแบบไทย ณ บ้านเรือนไทยทักษิณา (เวลา 05.00 – 14.00 น.)

1. จัดเตรียมสถานที่สำหรับพิธีสงฆ์ตามแบบฉบับการแต่งงานแบบไทย พร้อมอุปกรณ์ครบชุด
– ชุดอาสนะสงฆ์ 5 ชุด – โต๊ะหมู่บูชา – พรมรองพื้นสำหรับบ่าวสาว – กระโถน / ทิชชู่
– แก้วน้ำ – ขันทองน้ำมนต์เหลือง – ที่กรวดน้ำทองเหลือง – สายสินธุ์ ธูป เทียน แจกันดอกไม้
สำหรับโต๊ะหมู่บูชา – หมอนกราบ 1 คู่ – จัดดอกไม้ ธูป เทียน สำหรับถวายพระพุทธ และพระ
สงฆ์ 5 ชุด – อาหารสำหรับให้บ่าวสาวตักบาตรระหว่างพิธีแต่งงานแบบไทย
– จัดโตกภัตตาหารสำหรับถวายพระสงฆ์ 9 ชุด (อาหารไทย)
– จัดโตกอาหารถวายพระพุทธและพระภูมิ 1 ชุด – พิธีกรดำเนินการ – ซองปัจจัยถวายพระสงฆ์ 5
ซอง

2. ขั้นตอนการจัดเตรียมงานแต่งงานแบบไทย
– พิธีรับไหว้
– พิธีหมั้น
– สวมแหวน
– บริการข้าวตอกดอกไม้ สำหรับผู้ใหญ่โปรยอวยพร –
– พานรับไหว้
– พานสำหรับของชำร่วยรับไหว้ –
– บริการผ้าห่อเงิน-ทอง สำหรับช่วงพิธีการดูสินสอด –
– จัดเตรียมพิธีรับไหว้
– หมอนกราบ 1 คู่ – มาลัยไหว้พ่อแม่บ่าสาว 2 คู่ – ธูปเทียนแพ

3. จัดเตรียมงานแต่งงานแบบไทย ขั้นตอนพิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์
– ชุดตั่งหลั่งน้ำ โต๊ะสีครีม ลายทองสวยงาม – อุปกรณ์สำหรับใช้ในพิธีครบชุด ได้แก่ คนโทน้ำ หอยสังข์ พานวางมาลัยบ่าวสาว ด้ายมงคลแฝด แป้งเจิมน้ำอบไทย พวงมาลัยบ่าวสาว 1 คู่ – พานรองหลั่งน้ำดอกไม้ 1 คู่ – พรมรองพื้นสำหรับรองชุดตั่งหลั่งน้ำ – จัดเตรียมม่านหลัง พร้อมตกแต่งดอกไม้อย่างสวยงาม
– ป้ายชื่อโฟมบ่าวสาว – CD เพลง ดนตรีไทย สำหรับเปิดภายในงาน – พานสำหรับวางของชำร่วยหลั่งน้ำ – ตกแต่งรูปคู่บ่าว – สาว

4. จัดเตรียมงานแต่งงานแบบไทย ขั้นตอนและอุปกรณ์ส่งตัว
– ข้าวตอกดอกไม้ จำนวน 1 พาน
– บริการตกแต่งที่นอนส่งตัวด้วยดอกไม้สด

5. ชุดพานขันหมากในการแต่งงานแบบไทย
– พานขันหมากเอก 1 พาน – ชุดขันหมากตกแต่งด้วยงานใบตองประณีต 9 ขัน 13 ขัน 15 ขัน 19 ขัน ( ราคาเพิ่มต่างหาก)
– พานแหวนหมั้น 1 พาน
– พานสินสอด 1 พาน – พานรับขันหมาก 1 พาน – พานขันหมากโท 2 พาน
– พานธูปเทียนแพร 1 พาน – พานส่งตัวบ่าวสาว 1 พาน – พานขนมมงคล 9 อย่าง 1 พาน Flower Decoration
– Flower Stand สีสวยหวาน 1 คู่ – ดอกไม้ประดับภายในบ้าน – Flower ball 6 ลูก – สายดอกรักและกุหลาบ 20 เส้น
– ช่อดอกไม้รับเจ้าสาวจำนวน 1 ช่อ – ประดับผ้าภายในบ้าน – จัดห้องส่งตัว บ่าวสาว
– ดอกไม้ถวายพระสงฆ์ 5 ชุด – ดอกไม้โต๊ะหมูบูชา 1 ชุด – จัดดอกไม้พิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ สิ่งที่เจ้าภาพต้องจัดเตรียม
– ผู้ใหญ่ สำหรับคล้องมาลัย สายสินธุ์มงคล และพิธีส่งตัวคู่บ่าว – สาว
– เตรียมของรับไหว้ – ผู้ทำพิธีหมั้น

โพสต์เมื่อ 28th July 2012 โดย Unknown
ป้ายกำกับ: thai traditional wedding แต่งงานแบบไทยภาคใต้ พิธีแต่งงานแบบไทย แต่งงานแบบไทย

0 Add a comment

กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า

กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า

 

 

ผู้แต่ง พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)

ลักษณะคำประพันธ์กลอนดอกสร้อย

ที่มาของเรื่องกวีนิพนธ์เรื่อง Elegy Written in a Country Churchyardของ ทอมัส เกรย์(Thomas gray) กวีที่มีชื่อเสียง มีชีวิตอยู่ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘

 

 

ประวัติผู้แต่ง

พระยาอุปกิตศิลปะสาร (นิ่ม กาญจนชีวะ) เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๒๒ ศึกษาพระธรรมวินัยจนสอบได้เปรียญ ๖ ประโยค พ..๒๔๔๓ ได้เข้าสอบไล่วิชาครูในโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์สายวลีสัณฐาคารและได้สอนที่โรงเรียนสวนกุหลาบ โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์บ้านสมเด็จเจ้าพระยา ภายหลังเข้ารับราชการในกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) พนักงานกรมราชบัณฑิตย์ ปลัดกรมตำราหัวหน้าการพิมพ์แบบเรียนกรมวิชาการ หัวหน้าแผนกอภิธานสยาม ได้เลื่อนยศจนเป็นอำมาตย์เอกพระยาอุปกิตศิลปสาร และ เป็นอาจารย์พิเศษคณะอัษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่านเป็นผู้เสนอให้ใช้คำว่า “สวัสดี” ในการทักทายกัน

นามแฝง ในการเขียนบทความ ได้แก่ อ... อนึกคำชูชีพ อุนิกา สามเณรนิ่ม พระมหานิ่ม ม...

ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๘๔ และมอบศพให้แก่การศึกษาวิชาแพทย์นับว่าท่านเป็นครูอย่างแท้จริง

 

 

 

 

ผลงาน

 

  1. สยามไวยากรณ์ (ตำราไวยากรณ์ ๔ เล่ม ได้แก่ อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณ์
  2. สงครามภารตคำกลอน
  3. ชุมนุมนิพนธ์ อ...
  4. คำประพันธ์บางเรื่อง
  5. คำประพันธ์โคลงสลับกาพย์
  6. บทความและปาฐกถาต่างๆ เกี่ยวกับวรรณคดีและการใช้ภาษา

 

 

 

คุณค่าของคำประพันธ์

 

  1. รูปแบบ(ฉันทลักษณ์) เหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อหา เพราะกลอนดอกสร้อยจดจำได้ง่าย และ มีคติสอนใจ
  2. การใช้ภาษา ใช้คำสั้น กะทัดรัด เข้าใจง่าย สื่อความหมายชัดเจน
  3. มีสัมผัสงดงามไพเราะ ใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ (สัทพจน์) และเล่นคำ เล่นเสียงสัมผัสสระสัมผัสอักษร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

จุดประสงค์ของการแต่ง

 

 

  1. ชี้ให้เห็นความเป็นอนิจจังของชีวิตสอดคล้องกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่ว่าด้วยความไม่เที่ยงแท้ของชีวิต
  2. คุณค่าด้านเนื้อหาอยู่ที่การมุ่งแสดงความจริงเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ว่า “ไม่มีผู้ใดหลีกหนีความตายได้”
  3. แสดงความรู้สึกยกย่องชีวิตอันสงบ เรียบง่ายและความสุขอันเกิดจากความสันโดษ เป็นการให้คติธรรมอันทรงคุณค่าแก่การดำเนินชีวิต

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เนื้อเรื่องย่อ

 

กถามุข

ดังได้ยินมา สมัยหนึ่ง ผู้มีชื่อต้องการความวิเวก, เข้าไปนั่งอยู่ ณ ที่สงัด ในวัดชนบท เวลาตะวันรอนๆ, จนเสียงระฆังย่ำบอกสิ้นเวลาวัน ฝูงโคกระบือ และ พวกชาวนาพากันกลับที่อยู่เป็นหมู่ๆ. เมื่อสิ้นแสงตะวันแล้ว ได้ยินแต่เสียงจิ้งหรีดเรไรกับเสียงเกราะในคอกสัตว์. นกแสกจับอยู่บนหอระฆังก็ร้องส่งสำเนียง. ณ ที่นั้นมีต้นไทรต้นโพธิ์สูงใหญ่ ใต้ต้นล้วนมีเนินหญ้า กล่าวคือที่ฝังศพต่างๆ อันแลเห็นด้วยเดือนฉาย. ศพในที่เช่นนั้นก็เป็นศพชาวไร่ชาวนานั่นเอง. ผู้นั้นมีความรู้รู้สึกเยือเย็น แล้วรำพึงในหมู่ศพ จึงเขียนความในใจออกมากันดังนี้

 

วังเอ๋ยวังเวงหง่างเหง่ง! ย่ำค่ำระฆังขาน

ฝูงวัวควายผ้ายลาทิวากาลค่อยค่อยผ่านท้องทุ่งมุ่งถิ่นตน

ชาวนาเหนื่อยอ่อนต่างจรกลับตะวันลับอับแสงทุกแห่งหน

ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั่วมณฑลและทิ้งตนตูเปลี่ยวอยู่เดียวเอย

ถอดคำประพันธ์

เสียงระฆังตีย่ำดังหง่างเหง่ง มาทำให้เกิดความวังเวงใจยิ่งนัก ในขณะที่ฝูงควายก็เคลื่อนจากท้องทุ่งลาเวลากลางวันเพื่อมุ่งกลับยังถิ่นที่อยู่ของมัน ฝ่ายพวกชาวนาทั้งหลายรู้สึกเหนื่อยอ่อนจากการทำงานต่างก็พากันกลับถิ่นพำนักของตนเมื่อตะวันลับขอบฟ้าก็ไม่มีแสงสว่าง ทำให้ท้องทุ่งมืดไปทั่วบริเวณและทิ้งให้ข้าพเจ้าเปล่าเปลี่ยวอยู่แต่เพียงผู้เดียว

 

ยามเอ๋ยยามนี้ปถพีมืดมัวทั่วสถาน

อากาศเย็นเยือกหนาวคราววิกาลสงัดปานป่าใหญ่ไร้สำเนียง

มีก็แต่จังหรีดกระกรีดกริ่ง! เรไรหริ่ง! ร้องขรมระงมเสียง

คอกควายวัวรัวเกราะเปาะเปาะ! เพียงรู้ว่าเสียงเกราะแว่วแผ่วแผ่วเอย

 

 

ถอดคำประพันธ์

ยามนี้แผ่นดินมืดไปทั่ว อากาศเย็นยะเยือกหนาว เพราะเป็นเวลากลางคืน และป่าใหญ่แห่งนี้ก็เงียบสงัด มีแต่จิ้งหรีดและเรไรร้องกันเซ็งแซ่ไปหมด เจ้าของคอกวัวควายต่างก็รัวเกราะกันเป็นเสียงเปราะๆ ทำให้รู้ว่าเป็นเสียงเกราะดังแว่วมาแต่ไกล

 

นกเอ๋ยนกแสกจับจ้องร้องแจ๊กเพียงแถกขวัญ

อยู่บนยอกหอระฆังบังแสงจันทร์มีเถาวัลย์รุงรังถึงหลังคา

เหมือนมันฟ้องดวงจันทร์ให้ผันดูคนมาสู่ซ่องพักมันรักษา

ถือเป็นที่รโหฐานนมนานมาให้เสื่อมผาสุกสันต์ของมันเอย

ถอดคำประพันธ์

นกแสร้องแจ๊ก ๆ เพื่อทำให้เสียขวัญ มันจับอยู่บนหอระฆังที่มีเถาวัลย์พันรุงรังถึงหลังคาและบังแสงจันทร์อยู่ เหมือนมันจะฟ้องดวงจันทร์ว่าให้หันมาดูผู้คนที่มาสู่ที่อยู่มันรักษาไว้ ซึ่งถือเป็นส่วนที่เฉพาะส่วนตัวมานาน ทำให้มันไม่มีความสุข

 

ต้นเอ๋ยต้นไทรสูงใหญ่รากย้อยห้อยระย้า

และต้นโพธิ์พุ่มแจ้แผ่ฉายามีเนินหญ้าใต้ต้นเกลื่อนกล่นไป

ล้วนร่างคนในเขตประเทศนี้ดุษณีนอนราย ณ ภายใต้

แห่งหลุมลึกลานสลดระทดใจเรายิ่งใกล้หลุมนั้นทุกวันเอย

ถอดคำประพันธ์

มีต้นไม้สูงใหญ่รากย้อยห้อยระย้าและต้นโพธิ์ที่เป็นพุ่มแผ่ร่มเงาออกไปโดยรอบ ที่ใต้ต้นไม้มีเนินหญ้าเป็นที่ฝังศพคนในระแวกแถวนี้ ซึ่งนอนนิ่งอยู่เกลื่อนไปหมดในหลุมลึก ดูแล้วน่าสลดใจอย่างยิ่งนัก และตัวของข้าพเจ้าเองก็ใกล้หลุมนี้เข้าไปทุกวัน

 

หมดเอ๋ยหมดห่วงหมดดวงวิญญาณลาญสลาย

ถึงลมเช้าชวยชื่นรื่นสบายเตือนนกแอ่นลมผายแผดสำเนียง

อยู่ตามโรงมุงฟางข้างข้างนั้นทั้งไก่ขันแข่งดุเหว่าระเร้าเสียง

โอ้เหมือนปลุกร่างกายนอนรายเรียงพ้นสำเนียงที่จะปลุกให้ลุกเอย

 

ถอดคำประพันธ์

หมดห่วงเนื่องจากดวงวิญญาณได้แตกสลายไปแล้วถึงแม้ว่าลมยามเช้าจะชายพัดให้สดชิ้น เป็นการเตือนนกแอ่นลมให้เคลื่อนออกจากที่แผดร้องไปตามโรงนาทั้งไก่ก็ขันแข่งกับนกดุเหว่า เหมือนจะช่วยกันปลุกร่างของผู้นอนรายเรียงที่อยู่ให้หลุมฝังศพให้ตื่นขึ้นแต่พวกเขาเหล่านั้นไม่ได้ยินเสียงปลุกเสียแล้ว

 

ทอดเอ๋ยทอดทิ้งยามหนาวผิงไฟล้อมอยู่พร้อมหน้า

ทิ้งเพื่อยากแม่เหย้าหาข้าวปลาทุกเวลาเช้าเย็นเป็นนิรันดร์

ทิ้งทั้งหนูน้อยน้อยร่อยร่อยรัยเห็นพ่อกลับปลื้มเปรมเกษมสันต์

เข้ากอดคอฉอเลาะเสนาะกรรณสารพันทอดทิ้งทุกสิ่งเอย

ถอดคำประพันธ์

ยามหนาวเคยนั่งผึงไฟอยู่พร้อมหน้า แต่ก็ต้องมาทิ้งเพื่อนยากทิ้งแม่เรือนที่คอยหุงข้าวหาอาหารให้รับประทานทุกเช้าเย็น ทิ้งทั้งลูกน้อยที่พอเห็นหน้าพ่อก็ดีใจกอดคอฉอเลาะ นั้นคือต้องทอดทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างไปอย่างแน่นอน

 

กองเอ๋ยกองข้าวกองสูงราวโรงนายิ่งน่าใคร่

เกิดเพราะการเก็บเกี่ยวด้วยเคียวใครใครเล่าไถคราดฟื้นพื้นแผ่นดิน

เช้าก็ขับโคกระบือถือคันไถสำราญใจตามเขตประเทศถิ่น

ยึดหางยามยักไปตามใจจินต์หางยามผินตามใจเพราะใครเอย

ถอดคำประพันธ์

เห็นกองข้าวสูงราวกับโรงนา ช่างน่ายินดีนัก กองข้าวนี้เกิดเพราะการเก็บเกี่ยวด้วยเคียวของใคร หรือใครเป็นคนไถคราดพลิกฟื้นแผ่นดินนี้ขึ้นมา เช้าก็ถือคันไถพร้อมกับไล่ควายอย่างสบายใจอยู่ท้องนา โดยจับหางไถไถนาตามใจของจน หางไถหันไปในทิศทางต่าง ๆ เพราะใครเล่า

 

 

 

 

 

ตัวเอ๋ยตัวทะยานอย่าบันดาลดลใจให้ใฝ่ฝัน

ดูถูกกิจชาวนาสารพันและความครอบครองกันอันชื่นบาน

เขาเป็นสุขเรียบเรียบเงียบสงัดมีปวัตน์เป็นไปไม่วิตถาร

ขออย่าได้เย้ยเยาะพูดเราะรานดูหมิ่นการเป็นอยู่เพื่อนตูเอย

ถอดคำประพันธ์

ตัวทะเยอะทะยานเอ๋ย ขออย่าดลบันดาลใจให้มีการดูถูกการกระทำต่าง ๆ ขอชาวนาและความเป็นอยู่อันชื่นบานของขา เขาอยู่กันอย่างมีความสุขอย่างเรียบง่าย โดยมีความเป็นไปไม่เกินวิสัยปรกติของมนุษย์ ขอจงอย่าอย่าไปพูดจาเยาะเย้ยหรือดูหมิ่นการเป็นของเขาเลย

 

สกุลเอ๋ยสกุลสูงชักจูงจิตฟูชูศักดิ์ศรี

อำนาจนำความสง่าอ่าอินทรีย์ความงามนำให้มีไมตรีกัน

ความร่ำรวยอวยสุขให้ทุกอย่างเหล่านี้ต่างรอตายทำลายขันธ์

วิถีแห่งเกียรติยศทั้งหมดนั้นแต่ล้วนผันมาประจบหลุมศพเอย

ถอดคำประพันธ์

คนมีชาติตระกูลสูง ทำให้จิตใจของจนพองโตขึ้นโดยคิดว่าตนมีศักดิ์ศรีเหนือคนอื่น คนมีอำนาจนำความสง่างามมาให้แก่ชีวิต คนมีหน้าตางดงามทำให้คนอื่นรักใคร่คนมีฐานะร่ำรวยย่อมหาความสุขได้ทุกอย่าง แต่ทุกคนต่างก็รอความแตกดับของร่างกายโดยกันทั้งนั้น วิถีแห่งเกียรติยศทั้งหมด ล้วนมารวมกันที่หลุมฝังศพ

 

๑๐ตัวเอ๋ยตัวหยิ่งเจ้าอย่าชิงติซากว่ายากไร้

เห็นจมดินน่าสลดระทดใจที่ระลึกสิ่งไรก็ไม่มี

ไม่เหมือนอย่างบางศพญาติตบแต่งเครื่องแสดงเกียรติเลิศประเสริฐศรี

สร้างสถานการบุญหนุนพลีเป็นอนุสาวรีย์สง่าเอย

 

 

 

 

 

ถอดคำประพันธ์

ผู้เย่อหยิ่งทั้งหลายเอ๋ย ขออย่าชิงติซากศพผู้ยากไร้เหล่านี้เลยแม้เห็นจมดินหน้าสลดใจที่ระลึกอะไรซักอย่างก็ไม่มีก็ตามทีเถิด ไม่เหมือนอย่างบ้างศพที่ญาติตบแต่งด้วยเครื่องแสดงเกียรติยศอย่างดี โดยมีการสร้างอนุสาวรีย์อันสง่างามเพื่อเป็นสถานที่บวงสรวงบูชา

 

๑๑ที่เอ๋ยที่ระลึกถึงอธึกงามลบในภพพื้น

ก็ไม่ชวนชีพดับให้กลับคืนเสียงชมชื่นเชิดชูคุณผู้ตาย

เสียงประกาศเกียรติเอิกเกริกกลั่นจะกระเทือนถึงกรรณนั้นอย่าหมาย

ล้วนเป็นคุณแก่ผู้ยังไม่วางวายชูเกียรติญาติไปภายภาคหน้าเอย

ถอดคำประพันธ์

ที่ระลึกสร้างขึ้น ถึงแม้จะงามเลิศสักเพียงใด ก็ไม่สามารถทำให้ผู้ตายฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาได้ เสียงชื่นชมเชิดชูในคุณธรรมดีของผู้ตาย รวมทั้งเสียงชื่นชมในคุณงามความดีของผู้ตายรวมทั้งเสียงประกาศถึงเกียรติยศของผู้ตายอย่างแพร่หลายรู้กันทั่วไปจะไปเข้าหูผู้ตายนั้นก็หาไม่ ทุกอย่างล้วนเป็นคุณแก่ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่และเป็นการเชิดชูเกียรติยศของญาติพี่น้องที่มีชีวิตอยู่ต่อไป

 

๑๒ร่างเอ๋ยร่างกายยามตายจมพื้นดาษดื่นหลาม

อย่าดูถูกถิ่นนี้ว่าที่ทรามอาจขึ้นชื่อลือนามในก่อนไกล

อาจจะเป็นเจดีย์มีพระศพแห่งจอมภพจักรพรรดิกษัตริย์ใหญ่

ประเสริฐด้วยสัตตรัตน์จรัสชัยณ สมัยก่อนกาลบุราณเอย

ถอดคำประพันธ์

ร่างกายของคนทั้งหลายเมื่อตายจะจมพื้นดินอยู่เต็มไปหมด ขอจงอย่าดูถูกถิ่นนี้ว่าไม่ดี เพราะอาจเป็นถิ่นที่มีชื่อเสียงมาในสมัยก่อนได้ คือ เป็นสถานที่ก่อสร้างพระเจดีย์บรรจุพระศพของพระมหากษัตริย์ อันประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการของจักรรดิ ในสมัยโบราณนานมาแล้ว

 

 

๑๓ ความเอ๋ยความรู้เป็นเครื่องชูชี้ทางสว่างไสว

หมดโอกาสที่จะชี้ต่อนี้ไปละห่วงใยอยากรู้ลงสู่ดิน

อันความยากหากให้ไร้ศึกษาย่นปัญญาความรู้อยู่แค่ถิ่น

หมดทุกข์ขลุกแต่กิจคิดหากินกระแสวิญญาณงันเพียงนั้นเอย

ถอดคำประพันธ์

ความรู้เป็นเครื่องชี้นำทางไปสู่ความก้าวหน้าแต่ตอนนี้หมดโอกาสที่จะชี้นำทางต่อไปแล้ว จำต้องละความห่วงใยทั้งหมดลงไปสู่ความตาย อันความยากจนทำให้ไม่ได้รับการศึกษา ได้รับวิชาความรู้อยู่เฉพาะในท้องถิ่นของตน ตอนนี้หมดทุกข์หมดทุกข์ที่จะขลุกอยู่แต่ในการทำมาหากินเสียที เพราะวิญญาณของเราคงจะหยุดเพียงเท่านี้

 

๑๔ ดวงเอ๋ยดวงมณีมักจะลี้ลับอยู่ในภูผา

หรือใต้ท้องห้องสมุทรสุดสายตาก็เสื่อมซาสิ้นชมนิยมชน

บุปผชาติชูสีและมีกลิ่นอยู่ในถิ่นที่ไกลเช่นไพรสณฑ์

ไม่มีใครได้เชยเลยสักคนย่อมบานหล่นเปล่าดายมากมายเอย

ถอดคำประพันธ์

ดวงแก้วหรือสิ่งที่มีค่ามักจะอยู่ในที่ลี้ลับ เช่น ในภูเขาหรืออยู่ใต้ท้องสมุทรซึ่งสุดสายตามนุษย์ ทำให้กลายเป็นสิ่งไร้ค่าไมมีผู้ใดชิ้นชม เปรียบเสมือนกับดอกไม้ที่มีสีสวยงามละกลิ่นหอมที่อยู่ไกล เช่น ในป่า ก็ไม่มีใครได้เชยชมเลยสักคน ย่อมบานหล่นไปเปล่า ๆ อย่างมากมายน่าเสียดายเป็นยิ่งนัก

 

๑๕ซากเอ๋ยซากศพอาจเป็นซากนักรบผู้กล้าหาญ

เช่นชาวบ้านบางระจันขันรำบาญกับหมู่ม่านมาประทุษอยุธยา

ไม่เช่นนั้นท่านกวีเช่นศรีปราชญ์นอนอนาถเล่ห์ใบ้ไร้ภาษา

หรือผู้กู้บ้านเมืองเรืองปัญญาอาจจะมานอนจมถมดินเอย

ฯลฯ

 

 

 

 

ถอดคำประพันธ์

ซากศพทั้งหลายเหล่านี้อาจเป็นซากศพของนักรบผู้กล้าหาญ เช่น ชาวบ้านบางรจันที่อาสาจะสู้รบกับกองทัพพม่าที่มาทำร้ายถึงกรุงศรีอยุทธยา หรือศพท่านกวีศรีปราชญ์ที่นอนนิ่งไม่พูดไม่จา หรือศพผู้กู้รู้บ้านเมืองเรืองปัญญาอื่น ๆ ซึ่งอาจจะมานอนถมจมดินอยู่

 

๑๘มักเอ๋ยมักใหญ่ก่นแต่ใฝ่ฝันฟุ้งตามมุ่งหมาย

อำพรางความจริงใจไม่แพร่งพรายไม่ควรอายก็ต้องอายหมายปิดบัง

มุ่งแต่โปรยเครื่องปรุงจรุงกลิ่นคือความฟูมฟายสินลิ้นโอหัง

ลงในเพลิงเกียรติศักดิ์ประจักษ์ดังเปลวเพลิงปลั่งหอมกลบตลบเอย

ถอดคำประพันธ์

พวกมักใหญ่ใฝ่สูงจะทำแต่สิ่งที่ตนใฝ่ฝันมุ่งหมายไว้และปิดปังความจริงบางอย่างโดยไม่เปิดเผยให้ใครทราบ แม้จะเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอับอาย มุ่งแต่แสดงให้เห็นรูปลักษณ์ภายนอกว่าดี มีการใช้จ่ายทรัพย์สินเกินฐานะ พูดจาอวดดีเพื่อแสดงความมีเกียรติที่สูงส่งของตนให้ผู้อื่นเห็น อันเป็นการปกปิดความเป็นจริงของตนเองไว้

 

๑๙ห่างเอ๋ยห่างไกลห่างจากพวกมักใหญ่ฝักใฝ่หา

แต่สิ่งซึ่งเหลวไหลใส่อาตมาความมักน้อยชาวนาไม่น้อมไป

เพื่อรักษาความสราญฐานวิเวกร่มชื้อเฉกหุบเขาลำเนาไศล

สันโดษดับฟุ้งซ่านทะยานใจตามวิสัยชาวนาเย็นกว่าเอย

ถอดคำประพันธ์

ขอจงอยู่ห่างไกลพวกมักใหญ่ใฝ่สูง ซึ่งทำแต่สิ่งเหลวไหลใส่ตัวเอง โดยไม่ดูความมักน้อยของชาวนาเป็นตัวอย่าง ฉะนั้นเพื่อรักษาความสบายใจและความวิเวกร่มเย็นเฉกเช่นอยู่ในหุบเขาลำเนาไพร ควรถือสันโดษดับความฟุ้งซ่านใจ ตามแบบของชาวนาไว้จะเยือกเย็นกว่า

 

 

 

 

๒๐ศพเอ๋ยศพไพร่ไม่มีใครขึ้นชื่อระบือขาน

ไม่เกรงใครนินทาว่าประจานมีการจารึกบันทึกคุณ

ถึงบางทีมีบ้างเป็นอย่างเลิศก็ไม่ฉูดฉาดเชิดประเสริฐสุนทร์

พอเตือนใจได้บ้างในทางบุญเป็นเครื่องหนุนนำเหตุสังเวชเอย

ถอดคำประพันธ์

ศพของคนธรรมดาสามัญ ไม่มีใครเขายกย่องหรือกล่าวถึงฉะนั้นจึงไม่ต้องไปเกรงกลัวว่าใครจะนินทา เพราะไม่มีการเขียนจารึกบันทึกคุณความดีไว้ แม้บางครั้งจะมีการยกย่องในคุณงามความดีบ้าง แต่ก็ไม่ถึงกับเชิดชูกันอย่างเต็มที่ ทำพอเป็นเครื่องเตือนใจในการทำความดี หรือเป็นเครื่องหนุนนำเพื่อให้เกิดสังเวชใจเท่านั้น

 

๒๑ศพเอ๋ยศพสูงเป็นเครื่องจูงจิตให้เลื่อมใสศานต์

จารึกคำสำนวนชวนสักการผิดกับฐานชาวนาคนสามัญ

ซึ่งอย่างดีก็มีกวีเถื่อนจารึกชื่อปีเดือนวันดับขันธ์

อุทิศสิ่งซึ่งสร้างตามทางธรรม์ของผู้นั้นผู้นี้แก่ผีเอย

ถอดคำประพันธ์

ศพของคนดี เป็นสิ่งที่จูงให้เลื่อมใส มีการจารึกค่าสักการะ ผิดกับศพของชาวนาธรรมดา ซึ่งอย่างดีทาสุดก็มีแค่กวีสมัครเล่นซึ่งจะจารึกเอาไว้เพียงแค่เดือน วัน ปี ที่ล่วงลับ อุทิศสิ่งของทางธรรมให้แก่ผู้ตาย

 

๒๒ห่วงเอ๋ยห่วงอะไรไม่ยิ่งใหญ่เท่าห่วงดวงชีวิต

แม้คนลืมสิ่งใดได้สนิทก็ยังคิดขึ้นได้เมื่อใกล้ตาย

ใครจะยอมละทิ้งซึ่งสิ่งสุขเคยเป็นทุกข์ห่วงใยเสียได้ง่าย

ใครจะยอมละแดนแสนสบายโดยไม่ชายตาใฝ่อาลัยเอย

ถอดคำประพันธ์

ห่วงอะไร ไม่เท่าห่วงชีวิต แม้นคนที่ลืมทุกสิ่งก็ยังคิดได้เมื่อใกล้ตาย ใครจะยอมละทิ้งสิ่งที่ทำให้มีความสุข ถ้าผู้เคยมีความทุกข์ก็ยิ่งไม่เสียให้ง่ายๆ ใครจะยอมจากที่อยู่แสนสบาย โดยไม่หันหลังอาลัยไปมอง

 

๒๓ดวงเอ๋ยดวงจิตลืมสนิทกิจการงานทั้งหลาย

ย่อมละชีพเคยสุขสนุกสบายเคยเสียดายเคยวิตกเคยปกครอง

ละถิ่นที่สำราญเบิกบานจิตซึ่งเคยคิดใฝ่เฝ้าเป็นเจ้าของ

หมดวิตกหมดเสียดายหมดหมายปองไม่ผินหลังเหลียวมองด้วยซ้ำเอย

ถอดคำประพันธ์

ขอให้ดวงจิตของเราจงลืมกิจการงานทั้งหลายที่เคยสนุกสุขสบาย เคยเสียดาย เคยวิตกและเคยปกครอง ต้องละถิ่นเคยให้ความสุขสำราญบานใจ แบะฝันใฝ่อยากเป็นเจ้าของ ขอจงหมดความวิตก หมดวามเสียดายหมดสิ่งที่ปรารถนา โดยไม่หันหลังเหลียวไปมองมันอีกเลย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดที่ได้รับ

 

  1. คนเราเกิดมาควรสร้างความดี เพราะทุกคนต้องตาย ควรดำเนินชีวิตเป็นรูปแบบให้คนรุ่นหลังได้ยึดถือ
  2. ชีวิตเป็นอนิจจังทั้งสิ้น อย่าประมาทในการดำเนินชีวิต
  3. ไม่ว่าจะเป็นคนชั้นสูง หรือ เป็นคนชั้นต่ำก็ตาม ล้วนมีความเป็นคนเท่าเทียมกัน
  4. คำประพันธ์ที่ไพเราะสามารถทำให้ผู้ฟังมีความคล้อยในความหมายของกวี ทำให้สามารถทำความดีได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำศัพท์

 

เกราะ หมายถึง เครื่องสัญญาณทำด้วยไม้ ใช้ตีหรือสั่นให้ดัง

ขันธ์ หมายถึง ร่างกาย

ซื้อ หมายถึง เย็น ร่ม ชื้น

ซ่อง หมายถึง ที่อยู่

แถกขวัญ หมายถึง ทำให้ตกใจ

ปวัตน์ หมายถึง ความเป็นไป

ผาย หรือ ผ้าย หมายถึง เคลื่อนจากที่

ม่าน หมายถึง ชนชาติพม่า

รำบาญ หมายถึง รบ

ลาญ หมายถึง แตก หัก ทำลาย

สัตตรัตน์ หมายถึง แก้ว ๗ ประการ ได้แก่ สุวรรณ(ทอง) หิรัญ(เงิน)

มุกดาหาร(มุกดา) มณี(ทับทิม) ไพฑูรย์ วิเชียร

(เพชร) และ ประพาฬ(โกเมน)

แต่ในที่นี้หมายถึง แก้ว ๗ ประการของ

พระจักรพรรดิ ได้แก่ ช้างแก้ว นางแก้ว ขุนพล

แก้ว ขุนคลังแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี และ จักรแก้ว

สังเวช หมายถึง สลดใจ

หางยาม หมายถึงหางคันไถตรงที่มือถือ

อธึก หมายถึง ยิ่ง เกิน มาก

ดุษณีหมายถึง นิ่ง

วิตถารหมายถึง นอกทาง

ไศลหมายถึง เขาหิน

 

 

 

 

 

 

ความรู้เสริม

 

กลอนดอกสร้อย

 

กลอนดอกสร้อยเป็นลำนำสำหรับร้องเช่นเดียวกับเสภา ในสมัยก่อนใช้เป็นบทขับร้องแก้กันระหว่างชายหญิง ต่อมาเหลือแต่ดอกสร้อยสุภาษิต ซึ่งใช้เป็นบทฝึกหัดร้องเพลงแก่เด็กๆ

กลอนดอกสร้อย บทหนึ่งมี ๘ วรรค วรรคละ ๖๘ คำ แต่มักจะลง ๘ คำ เพราะเข้าทำนองขับร้องได้สะดวก ขึ้นต้นบท ๔ คำ เช่น มดเอ๋ยมดแดง ดอกเอ๋ยดอกแก้ว เด็กเอ๋ยเด็กน้อย แล้วลง “เอย” ทุกบท ดังนี้

 

อ๋ย


เอย

 

 

 

 

 

 

ข้อบังคับ

  1. กลอนดอกสร้อย ๑บท มี ๔ คำกลอน (๔ บรรทัด) ๘ วรรค วรรคหนึ่งใช้คำประมาณ ๖๘ คำ
  2. วรรคแรกจะมี ๔ คำ คำที่ ๑ และ ๓ จะใช้คำซ้ำกัน คำที่ ๒ จะใช้คำว่า เอ๋ย ส่วนคำที่ ๔ ใช้คำใดก็ได้แต่ต้องส่งสัมผัสไปยังวรรคที่ ๒ ตามแผนผังข้างต้น
  3. กลอนดอกสร้อยต้องลงท้ายด้วยคำว่า เอย เสมอ แต่ถ้าเป็นกลอนดอกสร้อยที่ประกอบอยู่ในบทละครจะไม่ลงท้ายด้วยคำว่า เอย
  4. ตำแหน่งสัมผัสและการใช้คำที่มีวรรณยุกต์ท้ายวรรค ใช้เหมือนกลอนสุภาพทั่วๆไป คือ
  • คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ กำหนดให้ใช้คำเสียงวรรณยุกต์ใดก็ได้ แต่ไม่นิยมคำเสียงวรรณยุกต์สามัญ
  • คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ กำหนดให้ใช้คำเสียงวรรณยุกต์เอก โท และ จัตวา
  • คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ และ ๔ กำหนดให้ใช้คำเสียงวรรณยุกต์ สามัญ และตรี

 

ข้อควรจำ

กลอนดอกสร้อยนั้นเป็นกลอนที่นำไปใช้ขับร้อง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แบบทดสอบ

 

  1. กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้ามีที่มาจากกวีนิพนธ์เรื่องอะไร
  2. กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าได้คัดมาให้ศึกษาจำนวนกี่บท
  3. กลวิธีในการแต่งกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าคืออะไร
  4. การเปลี่ยนพืชพรรณของตะวันตก คือ ต้นไอวี มาเป็นไทยคืออะไร
  5. ในสัตตรัตน์ สุวรรณ คือ อะไร
  6. งานประพันธ์ประเภท elegyในทางราชบัณฑิตยสถานใช้ว่าอะไร
  7. พระยาอุปกิตศิลปสารได้ประพันธ์กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าจากต้นฉบับแปลของท่านใด
  8. การนำตัวบทวรรณคดีตะวันตกมาแปลและดัดแปลงให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมไทยนั้น นับว่าเป็นลักษณะเด่นประการหนึ่งของการประพันธ์วรรณคดีในรัชสมัยใด
  9. ลักษณะของกลอนดอกสร้อยในบทละครมีลักษะแตกต่างไปจากกลอนดอกสร้อยทั่วไปอย่างไร
  10. กลอนดอกสร้อยนั้นเป็นกลอนที่นำไปใช้ในด้านใด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เฉลยแบบทดสอบ

 

  1. Elegy Written in a Country Churchyard
  2. ๒๑ บท
  3. การแต่งดัดแปลงให้เข้าธรรมเนียมไทย
  4. เถาวัลย์
  5. ทอง
  6. บทร้อยกรองกำสรด
  7. เสฐียรโกเกศ
  8. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
  9. จะไม่มีการลงท้ายด้วยคำว่า เอย
  10. การขับร้อง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า

 

จัดทำโดย

 

  1. เด็กชายปฏิภาณ ศิวกุล เลขที่ ๑๒
  2. เด็กชายภูวนัย มณีเนตร เลขที่ ๑๘
  3. เด็กหญิงพนิดา โพธิ์ทอง เลขที่ ๔๑
  4. เด็กหญิงมุฑิตา รังษีกาญจน์ส่อง เลขที่ ๔๕
  5. เด็กหญิงปิ่นสุดา พรมกลาง เลขที่ ๕๙

 

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/๑๐

 

เสนอ

นางศิริเพ็ญ ไชยยนต์

 

กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาภาษาไทย (ท๒๒๑๐๑)

ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๓

โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จังหวัดอุบลราชธานี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำนำ

 

กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาภาษาไทย

(ท๒๒๑๐๑) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านได้ศึกษารายละเอียดจากบทกลอนดอกสร้อยที่มุ่งแสดงถึงหลักความเป็นจริงของชีวิตคือ “ชีวิตล้วนเป็นอนิจจังไม่มีความเที่ยงแท้แน่นอน” และแสดงสิ่งอื่นๆอีกซึ่งเป็นการสอนการประพฤติตน สามาถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี หากกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าฉบับนี้มีข้อผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

 

 

 

 

 

 

 

คณะผู้จัดทำ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สารบัญ

 

ประวัติผู้แต่ง

ผลงาน

คุณค่าของคำประพันธ์

จุดประสงค์ของการแต่ง

เนื้อเรื่อง

เนื้อเรื่อง (การ์ตูน) ๑๓

ข้อคิดที่ได้๑๗

คำศัพท์๑๘

ความรู้เสริม เรื่อง กลอนดอกสร้อย๑๙

แบบทดสอบ๒๑

เฉลยแบบทดสอบ๒๒

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บรรณานุกรม

 

 

  1. หนังสือคู่สร้างภาษาไทย เล่ม ๒

 

  1. หนังสือคู่มือเตรียมสอบภาษาไทย ม.

 

  1. หนังสือสรุปเข้มเตรียมสอบภาษาไทย ม.

 

  1. http://www.dek-d.com

 

  1. http://www.google.co.th

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

พระยาอุปกิตศิลปสาร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทเสภาสามัคคีเสวก

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิศวกรรมา

 
     อันชาติใดไร้ศานติสุขสงบ        ต้องมัวรบราญรอนหาผ่อนไม่  
ณ ชาตินั้นนรชนไม่สนใจ               ในศิลปะวิไลละวาดงาม
แต่ชาติใดรุ่งเรืองเมืองสงบ              ว่างการรบอริพลอันล้นหลาม  
ย่อมจำนงศิลปาสง่างาม                   เพื่ออร่ามเรืองระยับประดับประดา   
     อันชาติใดไร้ช่างชำนาญศิลป์     เหมือนนารินไร้โฉมบรรโลมสง่า
ใครใครเห็นไม่เป็นที่จำเริญตา        เขาจะพากันเย้ยให้อับอาย   
ศิลปกรรมนำใจให้สร่างโศก             ช่วยบรรเทาทุกข์ในโลกให้เหือดหาย  
จำเริญตาพาใจให้สบาย                     อีกร่างกายก็จะพลอยสุขสราญ
แม้ผู้ใดไม่นิยมชมสิ่งงาม                เมื่อถึงยามเศร้าอุราน่าสงสาร  
เพราะขาดเครื่องระงับดับรำคาญ       โอสถใดจะสมานซึ่งดวงใจ   
เพราะการช่างนี้สำคัญอันวิเศษ          ทุกประเทศนานาทั้งน้อยใหญ่  
จึงยกย่องศิลปกรรม์นั้นทั่วไป            ศรีวิไลวิลาศดีเป็นศรีเมือง
ใครดูถูกผู้ชำนาญในการช่าง               ความคิดขวางเฉไฉไม่เข้าเรื่อง  
เหมือนคนบ้าคนไพรไม่รุ่งเรือง           จะพูดด้วยนั้นก็เปลืองซึ่งวาจา   
แต่กรุงไทยศรีวิไลทันเพื่อนบ้าน          จึ่งมีช่างชำนาญวิเลขา  
ทั้งช่างปั้นช่างเขียนเพียรวิชา                อีกช่างสถาปนาถูกทำนอง   
ทั้งช่างรูปพรรณสุวรรณกิจ                  ช่างประดิษฐ์รัชดาสง่าผ่อง  
อีกช่างถมลายลักษณะจำลอง               อีกช่ำชองเชิงรัตนะประกร 
ควรไทยเราช่วยบำรุงวิชาช่าง               เครื่องสำอางแบบไทยสโมสร
ช่วยบำรุงช่างไทยให้ถาวร                    อย่าให้หย่อนกว่าเขาเราจะอาย
อันผองชาติไพรัชช่างจัดสรร                 เป็นหลายอย่างต่างพรรณเข้ามาขาย
เราต้องซื้อหลากหลากและมากมาย       ต้องใช้ทรัพย์สุรุ่ยสุร่ายเป็นก่ายกอง   
แม้พวกเราชาวไทยตั้งใจช่วย                 เอออำนวยช่างไทยให้ทำของ  
ช่างคงใฝ่ใจผูกถูกทำนอง                      และทำของงามงามขึ้นตามกาล
เราช่วยช่างเหมือนอย่างช่วยบ้านเมือง  ได้ประเทืองเทศไทยอันไพศาล  
สมเป็นเมืองใหญ่โตมโหฬาร                 พอไม่อายเพื่อนบ้านจึ่งจะดี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ถอดคำประพันธ์
       ชาติใดที่มีศึกสงครามไม่มีความสงบสุขในแผ่นดิน ประชาชนย่อมไม่มีจิตใจสนใจความงดงามของศิลปะ
แต่หากชาติใด บ้านเมืองสงบสุขปราศจากสงคราม  ประชาชนก็จะทำนุบำรุงการศิลปกรรมทั้งปวงให้เจริญรุ่งเรืองชาติใดที่ปราศจากช่างศิลป์  ก็เปรียบเสมือนหญิงสาวที่ไม่มีความงามไม่เป็นที่ต้องตาต้องใจของใคร
มีแต่จะถูกเยาะเย้ยให้ได้อับอาย ศิลปกรรมนั้นช่วยทำให้จิตใจคลายเศร้า  ช่วยทำให้ความทุกข์หมด  
ทำให้จิตใจของเรามีความสุขซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายแข็งแรงไปด้วย  ตรงกันข้าม  หากใครไม่เห็นคุณค่าความงามของศิลปะ  เมื่อเผชิญความทุกข์ก็ไม่มีสิ่งใดมาเป็นยาช่วยสมานบาดแผลของจิตใจ  เขาเหล่านั้นจึงเป็นคนที่น่าสงสารยิ่งนัก  เพราะความรู้ทางช่างศิลป์สำคัญเช่นนี้  นานาประเทศจึงนิยมยกย่องคุณค่าของศิลปะและความสามารถเชิงช่างของช่างศิลป์ว่าเป็นเกียรติยศ ความรุ่งเรืองของแผ่นดิน  คนที่ไม่เห็นคุณค่าของศิลปะก็เหมือนคนป่าคนดง พูดด้วยก็เปลืองน้ำลายเปล่า แต่ประเทศไทยของเรานั้นเห็นคุณค่าของงานช่างศิลป์ เช่น
ช่างปั้น  ช่างเขียน  ช่างสถาปัตย์ ช่างทองรูปพรรณ  ช่างเงิน  ช่างถมและช่างอัญมณี  ซึ่งเราควรสนับสนุนงานช่างศิลป์ไทยให้ก้าวหน้ารุ่งเรืองอย่าให้ด้อยน้อยหน้ากว่านานาประเทศ   ชาวต่างชาติเมื่อมาเยือนเมืองไทยจะได้ซื้อหางานศิลปะเหล่านี้กลับไปเพราะเห็นในคุณค่า  การช่วยสนับสนุนงานศิลปกรรม  และส่งเสริมช่างศิลปะไทยให้สร้างสรรค์งานศิลปะขึ้นจึงเท่ากับได้ช่วยพัฒนาชาติ ให้เจริญพัฒนาอย่าถาวร
 
            พินิจคุณค่าวรรณคดี
ด้านสังคม        เห็นถึงคุณค่าของงานศิลปะ ซึ่งงานศิลปะนี้สามารถทำให้เราสบายใจได้
                         เห็นถึงความตั้งใจของช่างสาขาต่างๆที่ทำงานศิลปะ
ด้านอารมณ์      ศิลปะทำให้เรามีความสุขและหากเราไม่มีศิลปะในหัวใจจะทำให้เราไม่มีสิ่งสวยงามเพื่อยึดเหนี่ยว                                      จิตใจและไม่มีความสุข  ความแจ่มใส
ด้านวรรณศิลป์  มีการใช้ภาษาที่สวยงาม  มีการเล่นคำ  การเล่นเสียงและการใช้ภาพพจน์
                การเล่นคำ    เช่น
<!–[if !supportLists]–>·        <!–[endif]–>เหมือนคนป่าคนไพรไม่รุ่งเรือง    จะพูดด้วยนั้นก็เปลืองซึ่งวาจา
<!–[if !supportLists]–>·        <!–[endif]–>ทั้งช่างรูปพรรณสุวรรณกิจ       ช่างประดิษฐ์รัชดาสง่าผ่อง
<!–[if !supportLists]–>·        <!–[endif]–>อีกช่างถมลายลักษณะจำลอง    อีกช่ำชองเชิงรัตนประกร
<!–[if !supportLists]–>·        <!–[endif]–>เราช่วยช่างเหมือนอย่างช่วยบ้านเมือง   ให้ประเทืองเทศไทยอันไพศาล
                 การเล่นเสียง
การเล่นเสียงพยัญชนะ  เช่น
<!–[if !supportLists]–>·        <!–[endif]–>ต้องมัวรบราญรอนหาผ่อนไม่
<!–[if !supportLists]–>·        <!–[endif]–>ศิลปกรรมนำใจให้สร่างโศก
<!–[if !supportLists]–>·        <!–[endif]–>จึงยกย่องศิลปะกรรม์นั้นทั่วไป
<!–[if !supportLists]–>·        <!–[endif]–>ใครดูถูกผู้ชำนาญในการช่าง
<!–[if !supportLists]–>·        <!–[endif]–>อย่าให้หย่อนกว่าเขาเราจะอาย
<!–[if !supportLists]–>·        <!–[endif]–>พอไม่อายเพื่อนบ้านจึ่งจะดี
 
การเล่นเสียงสระ  เช่น
<!–[if !supportLists]–>·        <!–[endif]–>อันชาติใดไร้ศานติสุขสงบ  ต้องมัวรบราญรอนหาผ่อนไม่
<!–[if !supportLists]–>·        <!–[endif]–>ใครใครเห็นไม่เป็นที่จำเริญตา  เขาจะพากันเย้ยให้อับอาย
<!–[if !supportLists]–>·        <!–[endif]–>เพราะขาดเครื่องระงับดับรำคาญ  โอสถใดจะสมานซึ่งดวงใจ
<!–[if !supportLists]–>·        <!–[endif]–>ใครดูถูกผู้ชำนาญในการช่าง  ความคิดขวางเฉไฉไม่เข้าเรื่อง
<!–[if !supportLists]–>·        <!–[endif]–>สมเป็นเมืองใหญ่โตโหฬาร  พอไม่อายเพื่อนบ้านจึ่งจะดี
 
การใช้ภาพพจน์
<!–[if !supportLists]–>·        <!–[endif]–>ศิลปกรรมนำใจให้สร่างโศก             ช่วยบรรเทาทุกข์ในโลกให้เหือดหาย
เป็นการใช้ภาพพจน์ที่กล่าวเกินจริง
<!–[if !supportLists]–>·        <!–[endif]–>เหมือนคนป่าคนไพรไม่รุ่งเรือง          จะพูดด้วยนั้นก็เปลืองซึ่งวาจา
เป็นการใช้อุปมาโวหาร
<!–[if !supportLineBreakNewLine]–>
<!–[endif]–>
 
คำศัพท์ยาก
ศิลปะกรรม์  หมายถึง สิ่งที่เป็นศิลปะ,สิ่งที่ผลิตสร้างขึ้นเป็นศิลปะ
นรชน หมายถึง  คน
อุรา  หมายถึง อก
วิลาส  หมายถึง งามมีเสน่ห์
รัตนประกร  หมายถึง ทำเพชรนิลจินดา
ช่ำชอง  หมายถึง ชำนาญ
สมาน  หมายถึง ทำให้ติดกัน,ทำให้สนิท
ศรีวิลัย หมายถึง  เจริญ,มีอารยธรรม
ศานติ  หมายถึง สันติ  ความสงบสุข
วิเลขา  หมายถึง งามยิ่ง

เรื่อง ประวัติสุนทรภู่

26 มิถุนายน วันสุนทรภู่

<!–

//–>

สุนทรภู่
สุนทรภู่

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก pantip.com โพสต์โดย คุณนายรถซุง

          ถ้าเอ่ยชื่อ “สุนทรภู่” เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักกวีชาวไทยที่มีชื่อเสียงก้องโลก โดยเฉพาะกลอนนิทานเรื่อง “พระอภัยมณี” จนได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านงานวรรณกรรม  หรือ “มหากวีแห่งรัตนโกสินทร์” หรือ “เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย” และคงเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า “วันที่ 26 มิถุนายน” ของทุกปีคือ “วันสุนทรภู่” ซึ่งมักจะมีการจัดนิทรรศการ ประกวดแต่งคำกลอน เพื่อแสดงถึงการรำลึกถึง เพราะฉะนั้น วันนี้กระปุกดอทคอมจึงไม่พลาด ขอพาไปเปิดประวัติ “วันสุนทรภู่” ให้มากขึ้นค่ะ…

ชีวประวัติ “สุนทรภู่”

          สุนทรภู่ กวีสำคัญสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เกิดวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลา 2 โมงเช้า หรือตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 เวลา 8.00 น. นั่นเอง ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง (บริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบัน) บิดาของท่านเป็นชาวกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ชื่อพ่อพลับ ส่วนมารดาเป็นชาวเมืองฉะเชิงเทรา ชื่อแม่ช้อย สันนิษฐานว่ามารดาเป็นข้าหลวงอยู่ในพระราชวังหลัง เชื่อว่าหลังจากสุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าร้างกัน บิดาออกไปบวชอยู่ที่วัดป่ากร่ำ ตำบลบ้านกร่ำ อำเภอแกลง อันเป็นภูมิลำเนาเดิม ส่วนมารดาได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง ถวายตัวเป็นนางนมของพระองค์เจ้าหญิงจงกล พระธิดาในเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ดังนั้น สุนทรภู่จึงได้อยู่ในพระราชวังหลังกับมารดา และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง ซึ่งสุนทรภู่ยังมีน้องสาวต่างบิดาอีกสองคน ชื่อฉิมและนิ่ม อีกด้วย

          “สุนทรภู่” ได้รับการศึกษาในพระราชวังหลังและที่วัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม) ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวน ในกรมพระคลังสวน แต่ไม่ชอบทำงานอื่นนอกจากแต่งบทกลอน ซึ่งสามารถแต่งได้ดีตั้งแต่ยังรุ่นหนุ่ม เพราะตั้งแต่เยาว์วัยสุนทรภู่มีนิสัยรักแต่งกลอนยิ่งกว่างานอื่น ครั้งรุ่นหนุ่มก็ไปเป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่วัดศรีสุดารามในคลองบางกอกน้อย ได้แต่งกลอนสุภาษิตและกลอนนิทานขึ้นไว้ เมื่ออายุราว 20 ปี

          ต่อมาสุนทรภู่ลอบรักกับนางข้าหลวงในวังหลังคนหนึ่ง ชื่อแม่จัน ซึ่งเป็นบุตรหลานผู้มีตระกูล จึงถูกกรมพระราชวังหลังกริ้วจนถึงให้โบยและจำคุกคนทั้งสอง แต่เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. 2349 จึงมีการอภัยโทษแก่ผู้ถูกลงโทษทั้งหมดถวายเป็นพระราชกุศล หลังจากสุนทรภู่ออกจากคุก เขากับแม่จันก็เดินทางไปหาบิดาที่ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง และมีบุตรด้วยกัน 1 คน ชื่อ “พ่อพัด” ได้อยู่ในความอุปการะของเจ้าครอกทองอยู่ ส่วนสุนทรภู่กับแม่จันก็มีเรื่องระหองระแหงกันเสมอ จนภายหลังก็เลิกรากันไป 

          หลังจากนั้น สุนทรภู่ ก็เดินทางเข้าพระราชวังหลัง และมีโอกาสได้ติดตามพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ในฐานะมหาดเล็ก ตามเสด็จไปในงานพิธีมาฆบูชา ที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2350 และเขาก็ได้แต่ง “นิราศพระบาท” พรรณนาเหตุการณ์ในการเดินทางคราวนี้ด้วย และหลังจาก “นิราศพระบาท” ก็ไม่ปรากฏผลงานใดๆ ของสุนทรภู่อีกเลย 

          จนกระทั่งเข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2359 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์ และเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จนแต่งตั้งให้เป็นกวีที่ปรึกษาและคอยรับใช้ใกล้ชิด เนื่องจากเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงแต่งกลอนบทละครในเรื่อง “รามเกียรติ์” ติดขัดไม่มีผู้ใดต่อกลอนได้ต้องพระราชหฤทัย จึงโปรดให้สุนทรภู่ทดลองแต่ง ปรากฏว่าแต่งได้ดีเป็นที่พอพระทัย จึงทรงพระกรุณาฯ เลื่อนให้เป็น “ขุนสุนทรโวหาร”

          ต่อมาในราว พ.ศ. 2364 สุนทรภู่ต้องติดคุกเพราะเมาสุราอาละวาดและทำร้ายท่านผู้ใหญ่ แต่ติดอยู่ไมนานก็พ้นโทษ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงติดขัดบทพระราชนิพนธ์เรื่อง “สังข์ทอง” ไม่มีใครแต่งได้ต้องพระทัย ทรงให้สุนทรภู่ทดลองแต่งก็เป็นที่พอพระราชหฤทัยภายหลังพ้นโทษ สุนทรภู่ได้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 และ เชื่อกันว่าสุนทรภู่แต่งเรื่อง “สวัสดิรักษา” ในระหว่างเวลานี้ ซึ่งในระหว่างรับราชการอยู่นี้ สุนทรภู่แต่งงานใหม่กับแม่นิ่ม มีบุตรด้วยกันหนึ่งคน ชื่อ “พ่อตาบ

          “สุนทรภู่” รับราชการอยู่เพียง 8 ปี เมื่อถึงปี พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต หลังจากนั้นสุนทรภู่ก็ออกบวชที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) อยู่เป็นเวลา 18 ปี ระหว่างนั้นได้ย้ายไปอยู่วัดต่างๆ หลายแห่ง ได้แก่ วัดเลียบ, วัดแจ้ง, วัดโพธิ์, วัดมหาธาตุ และวัดเทพธิดาราม ซึ่งผลจากการที่ภิกษุภู่เดินทางธุดงค์ไปที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ปรากฏผลงานเป็นนิราศเรื่องต่างๆ มากมาย งานเขียนชิ้นสุดท้ายที่ภิกษุภู่แต่งไว้ก่อนลาสิกขาบท คือ รำพันพิลาป โดยแต่งขณะจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม พ.ศ. 2385 ทั้งนี้ ระหว่างที่ออกเดินทางธุดงค์ ภิกษุภู่ได้รับการอุปการะจากพระองค์เจ้าลักขณานุคุณจนพระองค์ประชวรสิ้นพระชมน์ สุนทรภู่จึงลาสิกขาบท รวมอายุพรรษาที่บวชได้ประมาณ 10 พรรษา สุนทรภู่ออกมาตกระกำลำบากอยู่พักหนึ่งจึงกลับเข้าไปบวชอีกครั้งหนึ่ง แต่อยู่ได้เพียง 2 พรรษา ก็ลาสิกขาบท และถวายตัวอยู่กับเจ้าฟ้าน้อย หรือสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ พระราชวังเดิม รวมทั้งได้รับอุปการะจากกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพอีกด้วย 

          ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ครองราชย์ ทรงสถาปนาเจ้าฟ้า กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่วังหน้า (พระบวรราชวัง) สุนทรภู่จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระสุนทรโวหาร” ตำแหน่งเจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝ่ายบวรราชวังในปี พ.ศ. 2394 และรับราชการต่อมาได้ 4 ปี ก็ถึงแก่มรณกรรมใน พ.ศ. 2398 รวมอายุได้ 70 ปี ในเขตพระราชวังเดิม ใกล้หอนั่งของพระยามนเทียรบาล (บัว) ที่เรียกชื่อกันว่า “ห้องสุนทรภู่” 

          สำหรับทายาทของสุนทรภู่นั้น เชื่อกันว่าสุนทรภู่มีบุตรชาย 3 คน คือ”พ่อพัด” เกิดจากภรรยาคนแรกคือแม่จัน “พ่อตาบ” เกิดจากภรรยาคนที่สองคือแม่นิ่ม และ “พ่อนิล” เกิดจากภรรยาที่ชื่อแม่ม่วง นอกจากนี้ ปรากฏชื่อบุตรบุญธรรมอีกสองคน ชื่อ “พ่อกลั่น” และ “พ่อชุบ” อย่างไรก็ตาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น และตระกูลของสุนทรภู่ได้ใช้นามสกุลต่อมาว่า “ภู่เรือหงส์”

ผลงานของสุนทรภู่

          หนังสือบทกลอนของสุนทรภู่มีอยู่มาก เท่าที่ปรากฏเรื่องที่ยังมีฉบับอยู่ในปัจจุบันนี้คือ…

ประเภทนิราศ 

          – นิราศเมืองแกลง (พ.ศ. 2349) – แต่งเมื่อหลังพ้นโทษจากคุก และเดินทางไปหาพ่อที่เมืองแกลง 

          – นิราศพระบาท (พ.ศ. 2350) – แต่งหลังจากกลับจากเมืองแกลง และต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรีในวันมาฆบูชา 

          – นิราศภูเขาทอง (ประมาณ พ.ศ. 2371) – แต่งโดยสมมุติว่า เณรหนูพัด เป็นผู้แต่งไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองที่จังหวัดอยุธยา 

          – นิราศสุพรรณ (ประมาณ พ.ศ. 2374) – แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผลงานเรื่องเดียวของสุนทรภู่ที่แต่งเป็นโคลง 

          – นิราศวัดเจ้าฟ้า (ประมาณ พ.ศ. 2375) – แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะตามลายแทงที่วัดเจ้าฟ้าอากาศ (ไม่ปรากฏว่าที่จริงคือวัดใด) ที่จังหวัดอยุธยา 

          – นิราศอิเหนา (ไม่ปรากฏ, คาดว่าเป็นสมัยรัชกาลที่ 3) แต่งเป็นเนื้อเรื่องอิเหนารำพันถึงนางบุษบา 

          – รำพันพิลาป (พ.ศ. 2385) – แต่งเมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม แล้วเกิดฝันร้ายว่าชะตาขาด จึงบันทึกความฝันพร้อมรำพันความอาภัพของตัวไว้เป็น “รำพันพิลาป” จากนั้นจึงลาสิกขาบท 

          – นิราศพระประธม (พ.ศ. 2385) –เชื่อว่าแต่งเมื่อหลังจากลาสิกขาบทและเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปนมัสการพระประธมเจดีย์ (หรือพระปฐมเจดีย์) ที่เมืองนครชัยศรี 

          – นิราศเมืองเพชร (พ.ศ. 2388) – แต่งเมื่อเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เชื่อว่าไปธุระราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง นิราศเรื่องนี้มีฉบับค้นพบเนื้อหาเพิ่มเติมซึ่ง อ.ล้อม เพ็งแก้ว เชื่อว่า บรรพบุรุษฝ่ายมารดาของสุนทรภู่เป็นชาวเมืองเพชร

ประเภทนิทาน

          เรื่องโคบุตร, เรื่องพระอภัยมณี, เรื่องพระไชยสุริยา, เรื่องลักษณวงศ์, เรื่องสิงหไกรภพ

เรียนรู้วิชาภาษาไทยม.2เรื่องนารายณ์ปราบนนทก

สวัสดีค่ะวันนี้น้องแนนจะมานำเสนอเรื่องนารายณ์ปราบนนทก

อย่าลืมดูกันน่ะค่ะ

ทักทาย

สวัสดีค่ะ ฉันชื่อ ด.ญ สุนิสา สุวรรณภักดี  ชื่อเล่น แนน ม 2  โรงเรียนเกาะขันธ์ประชาภิบาล

ตำบล เกาะขันธ์ อำเภอ ชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช

เว็บนี้ เกี่ยวกับตุ๊กตา