คลังเก็บป้ายกำกับ: กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า

กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า

กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า

 

 

ผู้แต่ง พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)

ลักษณะคำประพันธ์กลอนดอกสร้อย

ที่มาของเรื่องกวีนิพนธ์เรื่อง Elegy Written in a Country Churchyardของ ทอมัส เกรย์(Thomas gray) กวีที่มีชื่อเสียง มีชีวิตอยู่ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘

 

 

ประวัติผู้แต่ง

พระยาอุปกิตศิลปะสาร (นิ่ม กาญจนชีวะ) เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๒๒ ศึกษาพระธรรมวินัยจนสอบได้เปรียญ ๖ ประโยค พ..๒๔๔๓ ได้เข้าสอบไล่วิชาครูในโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์สายวลีสัณฐาคารและได้สอนที่โรงเรียนสวนกุหลาบ โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์บ้านสมเด็จเจ้าพระยา ภายหลังเข้ารับราชการในกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) พนักงานกรมราชบัณฑิตย์ ปลัดกรมตำราหัวหน้าการพิมพ์แบบเรียนกรมวิชาการ หัวหน้าแผนกอภิธานสยาม ได้เลื่อนยศจนเป็นอำมาตย์เอกพระยาอุปกิตศิลปสาร และ เป็นอาจารย์พิเศษคณะอัษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่านเป็นผู้เสนอให้ใช้คำว่า “สวัสดี” ในการทักทายกัน

นามแฝง ในการเขียนบทความ ได้แก่ อ... อนึกคำชูชีพ อุนิกา สามเณรนิ่ม พระมหานิ่ม ม...

ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๘๔ และมอบศพให้แก่การศึกษาวิชาแพทย์นับว่าท่านเป็นครูอย่างแท้จริง

 

 

 

 

ผลงาน

 

  1. สยามไวยากรณ์ (ตำราไวยากรณ์ ๔ เล่ม ได้แก่ อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณ์
  2. สงครามภารตคำกลอน
  3. ชุมนุมนิพนธ์ อ...
  4. คำประพันธ์บางเรื่อง
  5. คำประพันธ์โคลงสลับกาพย์
  6. บทความและปาฐกถาต่างๆ เกี่ยวกับวรรณคดีและการใช้ภาษา

 

 

 

คุณค่าของคำประพันธ์

 

  1. รูปแบบ(ฉันทลักษณ์) เหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อหา เพราะกลอนดอกสร้อยจดจำได้ง่าย และ มีคติสอนใจ
  2. การใช้ภาษา ใช้คำสั้น กะทัดรัด เข้าใจง่าย สื่อความหมายชัดเจน
  3. มีสัมผัสงดงามไพเราะ ใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ (สัทพจน์) และเล่นคำ เล่นเสียงสัมผัสสระสัมผัสอักษร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

จุดประสงค์ของการแต่ง

 

 

  1. ชี้ให้เห็นความเป็นอนิจจังของชีวิตสอดคล้องกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่ว่าด้วยความไม่เที่ยงแท้ของชีวิต
  2. คุณค่าด้านเนื้อหาอยู่ที่การมุ่งแสดงความจริงเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ว่า “ไม่มีผู้ใดหลีกหนีความตายได้”
  3. แสดงความรู้สึกยกย่องชีวิตอันสงบ เรียบง่ายและความสุขอันเกิดจากความสันโดษ เป็นการให้คติธรรมอันทรงคุณค่าแก่การดำเนินชีวิต

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เนื้อเรื่องย่อ

 

กถามุข

ดังได้ยินมา สมัยหนึ่ง ผู้มีชื่อต้องการความวิเวก, เข้าไปนั่งอยู่ ณ ที่สงัด ในวัดชนบท เวลาตะวันรอนๆ, จนเสียงระฆังย่ำบอกสิ้นเวลาวัน ฝูงโคกระบือ และ พวกชาวนาพากันกลับที่อยู่เป็นหมู่ๆ. เมื่อสิ้นแสงตะวันแล้ว ได้ยินแต่เสียงจิ้งหรีดเรไรกับเสียงเกราะในคอกสัตว์. นกแสกจับอยู่บนหอระฆังก็ร้องส่งสำเนียง. ณ ที่นั้นมีต้นไทรต้นโพธิ์สูงใหญ่ ใต้ต้นล้วนมีเนินหญ้า กล่าวคือที่ฝังศพต่างๆ อันแลเห็นด้วยเดือนฉาย. ศพในที่เช่นนั้นก็เป็นศพชาวไร่ชาวนานั่นเอง. ผู้นั้นมีความรู้รู้สึกเยือเย็น แล้วรำพึงในหมู่ศพ จึงเขียนความในใจออกมากันดังนี้

 

วังเอ๋ยวังเวงหง่างเหง่ง! ย่ำค่ำระฆังขาน

ฝูงวัวควายผ้ายลาทิวากาลค่อยค่อยผ่านท้องทุ่งมุ่งถิ่นตน

ชาวนาเหนื่อยอ่อนต่างจรกลับตะวันลับอับแสงทุกแห่งหน

ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั่วมณฑลและทิ้งตนตูเปลี่ยวอยู่เดียวเอย

ถอดคำประพันธ์

เสียงระฆังตีย่ำดังหง่างเหง่ง มาทำให้เกิดความวังเวงใจยิ่งนัก ในขณะที่ฝูงควายก็เคลื่อนจากท้องทุ่งลาเวลากลางวันเพื่อมุ่งกลับยังถิ่นที่อยู่ของมัน ฝ่ายพวกชาวนาทั้งหลายรู้สึกเหนื่อยอ่อนจากการทำงานต่างก็พากันกลับถิ่นพำนักของตนเมื่อตะวันลับขอบฟ้าก็ไม่มีแสงสว่าง ทำให้ท้องทุ่งมืดไปทั่วบริเวณและทิ้งให้ข้าพเจ้าเปล่าเปลี่ยวอยู่แต่เพียงผู้เดียว

 

ยามเอ๋ยยามนี้ปถพีมืดมัวทั่วสถาน

อากาศเย็นเยือกหนาวคราววิกาลสงัดปานป่าใหญ่ไร้สำเนียง

มีก็แต่จังหรีดกระกรีดกริ่ง! เรไรหริ่ง! ร้องขรมระงมเสียง

คอกควายวัวรัวเกราะเปาะเปาะ! เพียงรู้ว่าเสียงเกราะแว่วแผ่วแผ่วเอย

 

 

ถอดคำประพันธ์

ยามนี้แผ่นดินมืดไปทั่ว อากาศเย็นยะเยือกหนาว เพราะเป็นเวลากลางคืน และป่าใหญ่แห่งนี้ก็เงียบสงัด มีแต่จิ้งหรีดและเรไรร้องกันเซ็งแซ่ไปหมด เจ้าของคอกวัวควายต่างก็รัวเกราะกันเป็นเสียงเปราะๆ ทำให้รู้ว่าเป็นเสียงเกราะดังแว่วมาแต่ไกล

 

นกเอ๋ยนกแสกจับจ้องร้องแจ๊กเพียงแถกขวัญ

อยู่บนยอกหอระฆังบังแสงจันทร์มีเถาวัลย์รุงรังถึงหลังคา

เหมือนมันฟ้องดวงจันทร์ให้ผันดูคนมาสู่ซ่องพักมันรักษา

ถือเป็นที่รโหฐานนมนานมาให้เสื่อมผาสุกสันต์ของมันเอย

ถอดคำประพันธ์

นกแสร้องแจ๊ก ๆ เพื่อทำให้เสียขวัญ มันจับอยู่บนหอระฆังที่มีเถาวัลย์พันรุงรังถึงหลังคาและบังแสงจันทร์อยู่ เหมือนมันจะฟ้องดวงจันทร์ว่าให้หันมาดูผู้คนที่มาสู่ที่อยู่มันรักษาไว้ ซึ่งถือเป็นส่วนที่เฉพาะส่วนตัวมานาน ทำให้มันไม่มีความสุข

 

ต้นเอ๋ยต้นไทรสูงใหญ่รากย้อยห้อยระย้า

และต้นโพธิ์พุ่มแจ้แผ่ฉายามีเนินหญ้าใต้ต้นเกลื่อนกล่นไป

ล้วนร่างคนในเขตประเทศนี้ดุษณีนอนราย ณ ภายใต้

แห่งหลุมลึกลานสลดระทดใจเรายิ่งใกล้หลุมนั้นทุกวันเอย

ถอดคำประพันธ์

มีต้นไม้สูงใหญ่รากย้อยห้อยระย้าและต้นโพธิ์ที่เป็นพุ่มแผ่ร่มเงาออกไปโดยรอบ ที่ใต้ต้นไม้มีเนินหญ้าเป็นที่ฝังศพคนในระแวกแถวนี้ ซึ่งนอนนิ่งอยู่เกลื่อนไปหมดในหลุมลึก ดูแล้วน่าสลดใจอย่างยิ่งนัก และตัวของข้าพเจ้าเองก็ใกล้หลุมนี้เข้าไปทุกวัน

 

หมดเอ๋ยหมดห่วงหมดดวงวิญญาณลาญสลาย

ถึงลมเช้าชวยชื่นรื่นสบายเตือนนกแอ่นลมผายแผดสำเนียง

อยู่ตามโรงมุงฟางข้างข้างนั้นทั้งไก่ขันแข่งดุเหว่าระเร้าเสียง

โอ้เหมือนปลุกร่างกายนอนรายเรียงพ้นสำเนียงที่จะปลุกให้ลุกเอย

 

ถอดคำประพันธ์

หมดห่วงเนื่องจากดวงวิญญาณได้แตกสลายไปแล้วถึงแม้ว่าลมยามเช้าจะชายพัดให้สดชิ้น เป็นการเตือนนกแอ่นลมให้เคลื่อนออกจากที่แผดร้องไปตามโรงนาทั้งไก่ก็ขันแข่งกับนกดุเหว่า เหมือนจะช่วยกันปลุกร่างของผู้นอนรายเรียงที่อยู่ให้หลุมฝังศพให้ตื่นขึ้นแต่พวกเขาเหล่านั้นไม่ได้ยินเสียงปลุกเสียแล้ว

 

ทอดเอ๋ยทอดทิ้งยามหนาวผิงไฟล้อมอยู่พร้อมหน้า

ทิ้งเพื่อยากแม่เหย้าหาข้าวปลาทุกเวลาเช้าเย็นเป็นนิรันดร์

ทิ้งทั้งหนูน้อยน้อยร่อยร่อยรัยเห็นพ่อกลับปลื้มเปรมเกษมสันต์

เข้ากอดคอฉอเลาะเสนาะกรรณสารพันทอดทิ้งทุกสิ่งเอย

ถอดคำประพันธ์

ยามหนาวเคยนั่งผึงไฟอยู่พร้อมหน้า แต่ก็ต้องมาทิ้งเพื่อนยากทิ้งแม่เรือนที่คอยหุงข้าวหาอาหารให้รับประทานทุกเช้าเย็น ทิ้งทั้งลูกน้อยที่พอเห็นหน้าพ่อก็ดีใจกอดคอฉอเลาะ นั้นคือต้องทอดทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างไปอย่างแน่นอน

 

กองเอ๋ยกองข้าวกองสูงราวโรงนายิ่งน่าใคร่

เกิดเพราะการเก็บเกี่ยวด้วยเคียวใครใครเล่าไถคราดฟื้นพื้นแผ่นดิน

เช้าก็ขับโคกระบือถือคันไถสำราญใจตามเขตประเทศถิ่น

ยึดหางยามยักไปตามใจจินต์หางยามผินตามใจเพราะใครเอย

ถอดคำประพันธ์

เห็นกองข้าวสูงราวกับโรงนา ช่างน่ายินดีนัก กองข้าวนี้เกิดเพราะการเก็บเกี่ยวด้วยเคียวของใคร หรือใครเป็นคนไถคราดพลิกฟื้นแผ่นดินนี้ขึ้นมา เช้าก็ถือคันไถพร้อมกับไล่ควายอย่างสบายใจอยู่ท้องนา โดยจับหางไถไถนาตามใจของจน หางไถหันไปในทิศทางต่าง ๆ เพราะใครเล่า

 

 

 

 

 

ตัวเอ๋ยตัวทะยานอย่าบันดาลดลใจให้ใฝ่ฝัน

ดูถูกกิจชาวนาสารพันและความครอบครองกันอันชื่นบาน

เขาเป็นสุขเรียบเรียบเงียบสงัดมีปวัตน์เป็นไปไม่วิตถาร

ขออย่าได้เย้ยเยาะพูดเราะรานดูหมิ่นการเป็นอยู่เพื่อนตูเอย

ถอดคำประพันธ์

ตัวทะเยอะทะยานเอ๋ย ขออย่าดลบันดาลใจให้มีการดูถูกการกระทำต่าง ๆ ขอชาวนาและความเป็นอยู่อันชื่นบานของขา เขาอยู่กันอย่างมีความสุขอย่างเรียบง่าย โดยมีความเป็นไปไม่เกินวิสัยปรกติของมนุษย์ ขอจงอย่าอย่าไปพูดจาเยาะเย้ยหรือดูหมิ่นการเป็นของเขาเลย

 

สกุลเอ๋ยสกุลสูงชักจูงจิตฟูชูศักดิ์ศรี

อำนาจนำความสง่าอ่าอินทรีย์ความงามนำให้มีไมตรีกัน

ความร่ำรวยอวยสุขให้ทุกอย่างเหล่านี้ต่างรอตายทำลายขันธ์

วิถีแห่งเกียรติยศทั้งหมดนั้นแต่ล้วนผันมาประจบหลุมศพเอย

ถอดคำประพันธ์

คนมีชาติตระกูลสูง ทำให้จิตใจของจนพองโตขึ้นโดยคิดว่าตนมีศักดิ์ศรีเหนือคนอื่น คนมีอำนาจนำความสง่างามมาให้แก่ชีวิต คนมีหน้าตางดงามทำให้คนอื่นรักใคร่คนมีฐานะร่ำรวยย่อมหาความสุขได้ทุกอย่าง แต่ทุกคนต่างก็รอความแตกดับของร่างกายโดยกันทั้งนั้น วิถีแห่งเกียรติยศทั้งหมด ล้วนมารวมกันที่หลุมฝังศพ

 

๑๐ตัวเอ๋ยตัวหยิ่งเจ้าอย่าชิงติซากว่ายากไร้

เห็นจมดินน่าสลดระทดใจที่ระลึกสิ่งไรก็ไม่มี

ไม่เหมือนอย่างบางศพญาติตบแต่งเครื่องแสดงเกียรติเลิศประเสริฐศรี

สร้างสถานการบุญหนุนพลีเป็นอนุสาวรีย์สง่าเอย

 

 

 

 

 

ถอดคำประพันธ์

ผู้เย่อหยิ่งทั้งหลายเอ๋ย ขออย่าชิงติซากศพผู้ยากไร้เหล่านี้เลยแม้เห็นจมดินหน้าสลดใจที่ระลึกอะไรซักอย่างก็ไม่มีก็ตามทีเถิด ไม่เหมือนอย่างบ้างศพที่ญาติตบแต่งด้วยเครื่องแสดงเกียรติยศอย่างดี โดยมีการสร้างอนุสาวรีย์อันสง่างามเพื่อเป็นสถานที่บวงสรวงบูชา

 

๑๑ที่เอ๋ยที่ระลึกถึงอธึกงามลบในภพพื้น

ก็ไม่ชวนชีพดับให้กลับคืนเสียงชมชื่นเชิดชูคุณผู้ตาย

เสียงประกาศเกียรติเอิกเกริกกลั่นจะกระเทือนถึงกรรณนั้นอย่าหมาย

ล้วนเป็นคุณแก่ผู้ยังไม่วางวายชูเกียรติญาติไปภายภาคหน้าเอย

ถอดคำประพันธ์

ที่ระลึกสร้างขึ้น ถึงแม้จะงามเลิศสักเพียงใด ก็ไม่สามารถทำให้ผู้ตายฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาได้ เสียงชื่นชมเชิดชูในคุณธรรมดีของผู้ตาย รวมทั้งเสียงชื่นชมในคุณงามความดีของผู้ตายรวมทั้งเสียงประกาศถึงเกียรติยศของผู้ตายอย่างแพร่หลายรู้กันทั่วไปจะไปเข้าหูผู้ตายนั้นก็หาไม่ ทุกอย่างล้วนเป็นคุณแก่ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่และเป็นการเชิดชูเกียรติยศของญาติพี่น้องที่มีชีวิตอยู่ต่อไป

 

๑๒ร่างเอ๋ยร่างกายยามตายจมพื้นดาษดื่นหลาม

อย่าดูถูกถิ่นนี้ว่าที่ทรามอาจขึ้นชื่อลือนามในก่อนไกล

อาจจะเป็นเจดีย์มีพระศพแห่งจอมภพจักรพรรดิกษัตริย์ใหญ่

ประเสริฐด้วยสัตตรัตน์จรัสชัยณ สมัยก่อนกาลบุราณเอย

ถอดคำประพันธ์

ร่างกายของคนทั้งหลายเมื่อตายจะจมพื้นดินอยู่เต็มไปหมด ขอจงอย่าดูถูกถิ่นนี้ว่าไม่ดี เพราะอาจเป็นถิ่นที่มีชื่อเสียงมาในสมัยก่อนได้ คือ เป็นสถานที่ก่อสร้างพระเจดีย์บรรจุพระศพของพระมหากษัตริย์ อันประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการของจักรรดิ ในสมัยโบราณนานมาแล้ว

 

 

๑๓ ความเอ๋ยความรู้เป็นเครื่องชูชี้ทางสว่างไสว

หมดโอกาสที่จะชี้ต่อนี้ไปละห่วงใยอยากรู้ลงสู่ดิน

อันความยากหากให้ไร้ศึกษาย่นปัญญาความรู้อยู่แค่ถิ่น

หมดทุกข์ขลุกแต่กิจคิดหากินกระแสวิญญาณงันเพียงนั้นเอย

ถอดคำประพันธ์

ความรู้เป็นเครื่องชี้นำทางไปสู่ความก้าวหน้าแต่ตอนนี้หมดโอกาสที่จะชี้นำทางต่อไปแล้ว จำต้องละความห่วงใยทั้งหมดลงไปสู่ความตาย อันความยากจนทำให้ไม่ได้รับการศึกษา ได้รับวิชาความรู้อยู่เฉพาะในท้องถิ่นของตน ตอนนี้หมดทุกข์หมดทุกข์ที่จะขลุกอยู่แต่ในการทำมาหากินเสียที เพราะวิญญาณของเราคงจะหยุดเพียงเท่านี้

 

๑๔ ดวงเอ๋ยดวงมณีมักจะลี้ลับอยู่ในภูผา

หรือใต้ท้องห้องสมุทรสุดสายตาก็เสื่อมซาสิ้นชมนิยมชน

บุปผชาติชูสีและมีกลิ่นอยู่ในถิ่นที่ไกลเช่นไพรสณฑ์

ไม่มีใครได้เชยเลยสักคนย่อมบานหล่นเปล่าดายมากมายเอย

ถอดคำประพันธ์

ดวงแก้วหรือสิ่งที่มีค่ามักจะอยู่ในที่ลี้ลับ เช่น ในภูเขาหรืออยู่ใต้ท้องสมุทรซึ่งสุดสายตามนุษย์ ทำให้กลายเป็นสิ่งไร้ค่าไมมีผู้ใดชิ้นชม เปรียบเสมือนกับดอกไม้ที่มีสีสวยงามละกลิ่นหอมที่อยู่ไกล เช่น ในป่า ก็ไม่มีใครได้เชยชมเลยสักคน ย่อมบานหล่นไปเปล่า ๆ อย่างมากมายน่าเสียดายเป็นยิ่งนัก

 

๑๕ซากเอ๋ยซากศพอาจเป็นซากนักรบผู้กล้าหาญ

เช่นชาวบ้านบางระจันขันรำบาญกับหมู่ม่านมาประทุษอยุธยา

ไม่เช่นนั้นท่านกวีเช่นศรีปราชญ์นอนอนาถเล่ห์ใบ้ไร้ภาษา

หรือผู้กู้บ้านเมืองเรืองปัญญาอาจจะมานอนจมถมดินเอย

ฯลฯ

 

 

 

 

ถอดคำประพันธ์

ซากศพทั้งหลายเหล่านี้อาจเป็นซากศพของนักรบผู้กล้าหาญ เช่น ชาวบ้านบางรจันที่อาสาจะสู้รบกับกองทัพพม่าที่มาทำร้ายถึงกรุงศรีอยุทธยา หรือศพท่านกวีศรีปราชญ์ที่นอนนิ่งไม่พูดไม่จา หรือศพผู้กู้รู้บ้านเมืองเรืองปัญญาอื่น ๆ ซึ่งอาจจะมานอนถมจมดินอยู่

 

๑๘มักเอ๋ยมักใหญ่ก่นแต่ใฝ่ฝันฟุ้งตามมุ่งหมาย

อำพรางความจริงใจไม่แพร่งพรายไม่ควรอายก็ต้องอายหมายปิดบัง

มุ่งแต่โปรยเครื่องปรุงจรุงกลิ่นคือความฟูมฟายสินลิ้นโอหัง

ลงในเพลิงเกียรติศักดิ์ประจักษ์ดังเปลวเพลิงปลั่งหอมกลบตลบเอย

ถอดคำประพันธ์

พวกมักใหญ่ใฝ่สูงจะทำแต่สิ่งที่ตนใฝ่ฝันมุ่งหมายไว้และปิดปังความจริงบางอย่างโดยไม่เปิดเผยให้ใครทราบ แม้จะเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอับอาย มุ่งแต่แสดงให้เห็นรูปลักษณ์ภายนอกว่าดี มีการใช้จ่ายทรัพย์สินเกินฐานะ พูดจาอวดดีเพื่อแสดงความมีเกียรติที่สูงส่งของตนให้ผู้อื่นเห็น อันเป็นการปกปิดความเป็นจริงของตนเองไว้

 

๑๙ห่างเอ๋ยห่างไกลห่างจากพวกมักใหญ่ฝักใฝ่หา

แต่สิ่งซึ่งเหลวไหลใส่อาตมาความมักน้อยชาวนาไม่น้อมไป

เพื่อรักษาความสราญฐานวิเวกร่มชื้อเฉกหุบเขาลำเนาไศล

สันโดษดับฟุ้งซ่านทะยานใจตามวิสัยชาวนาเย็นกว่าเอย

ถอดคำประพันธ์

ขอจงอยู่ห่างไกลพวกมักใหญ่ใฝ่สูง ซึ่งทำแต่สิ่งเหลวไหลใส่ตัวเอง โดยไม่ดูความมักน้อยของชาวนาเป็นตัวอย่าง ฉะนั้นเพื่อรักษาความสบายใจและความวิเวกร่มเย็นเฉกเช่นอยู่ในหุบเขาลำเนาไพร ควรถือสันโดษดับความฟุ้งซ่านใจ ตามแบบของชาวนาไว้จะเยือกเย็นกว่า

 

 

 

 

๒๐ศพเอ๋ยศพไพร่ไม่มีใครขึ้นชื่อระบือขาน

ไม่เกรงใครนินทาว่าประจานมีการจารึกบันทึกคุณ

ถึงบางทีมีบ้างเป็นอย่างเลิศก็ไม่ฉูดฉาดเชิดประเสริฐสุนทร์

พอเตือนใจได้บ้างในทางบุญเป็นเครื่องหนุนนำเหตุสังเวชเอย

ถอดคำประพันธ์

ศพของคนธรรมดาสามัญ ไม่มีใครเขายกย่องหรือกล่าวถึงฉะนั้นจึงไม่ต้องไปเกรงกลัวว่าใครจะนินทา เพราะไม่มีการเขียนจารึกบันทึกคุณความดีไว้ แม้บางครั้งจะมีการยกย่องในคุณงามความดีบ้าง แต่ก็ไม่ถึงกับเชิดชูกันอย่างเต็มที่ ทำพอเป็นเครื่องเตือนใจในการทำความดี หรือเป็นเครื่องหนุนนำเพื่อให้เกิดสังเวชใจเท่านั้น

 

๒๑ศพเอ๋ยศพสูงเป็นเครื่องจูงจิตให้เลื่อมใสศานต์

จารึกคำสำนวนชวนสักการผิดกับฐานชาวนาคนสามัญ

ซึ่งอย่างดีก็มีกวีเถื่อนจารึกชื่อปีเดือนวันดับขันธ์

อุทิศสิ่งซึ่งสร้างตามทางธรรม์ของผู้นั้นผู้นี้แก่ผีเอย

ถอดคำประพันธ์

ศพของคนดี เป็นสิ่งที่จูงให้เลื่อมใส มีการจารึกค่าสักการะ ผิดกับศพของชาวนาธรรมดา ซึ่งอย่างดีทาสุดก็มีแค่กวีสมัครเล่นซึ่งจะจารึกเอาไว้เพียงแค่เดือน วัน ปี ที่ล่วงลับ อุทิศสิ่งของทางธรรมให้แก่ผู้ตาย

 

๒๒ห่วงเอ๋ยห่วงอะไรไม่ยิ่งใหญ่เท่าห่วงดวงชีวิต

แม้คนลืมสิ่งใดได้สนิทก็ยังคิดขึ้นได้เมื่อใกล้ตาย

ใครจะยอมละทิ้งซึ่งสิ่งสุขเคยเป็นทุกข์ห่วงใยเสียได้ง่าย

ใครจะยอมละแดนแสนสบายโดยไม่ชายตาใฝ่อาลัยเอย

ถอดคำประพันธ์

ห่วงอะไร ไม่เท่าห่วงชีวิต แม้นคนที่ลืมทุกสิ่งก็ยังคิดได้เมื่อใกล้ตาย ใครจะยอมละทิ้งสิ่งที่ทำให้มีความสุข ถ้าผู้เคยมีความทุกข์ก็ยิ่งไม่เสียให้ง่ายๆ ใครจะยอมจากที่อยู่แสนสบาย โดยไม่หันหลังอาลัยไปมอง

 

๒๓ดวงเอ๋ยดวงจิตลืมสนิทกิจการงานทั้งหลาย

ย่อมละชีพเคยสุขสนุกสบายเคยเสียดายเคยวิตกเคยปกครอง

ละถิ่นที่สำราญเบิกบานจิตซึ่งเคยคิดใฝ่เฝ้าเป็นเจ้าของ

หมดวิตกหมดเสียดายหมดหมายปองไม่ผินหลังเหลียวมองด้วยซ้ำเอย

ถอดคำประพันธ์

ขอให้ดวงจิตของเราจงลืมกิจการงานทั้งหลายที่เคยสนุกสุขสบาย เคยเสียดาย เคยวิตกและเคยปกครอง ต้องละถิ่นเคยให้ความสุขสำราญบานใจ แบะฝันใฝ่อยากเป็นเจ้าของ ขอจงหมดความวิตก หมดวามเสียดายหมดสิ่งที่ปรารถนา โดยไม่หันหลังเหลียวไปมองมันอีกเลย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดที่ได้รับ

 

  1. คนเราเกิดมาควรสร้างความดี เพราะทุกคนต้องตาย ควรดำเนินชีวิตเป็นรูปแบบให้คนรุ่นหลังได้ยึดถือ
  2. ชีวิตเป็นอนิจจังทั้งสิ้น อย่าประมาทในการดำเนินชีวิต
  3. ไม่ว่าจะเป็นคนชั้นสูง หรือ เป็นคนชั้นต่ำก็ตาม ล้วนมีความเป็นคนเท่าเทียมกัน
  4. คำประพันธ์ที่ไพเราะสามารถทำให้ผู้ฟังมีความคล้อยในความหมายของกวี ทำให้สามารถทำความดีได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำศัพท์

 

เกราะ หมายถึง เครื่องสัญญาณทำด้วยไม้ ใช้ตีหรือสั่นให้ดัง

ขันธ์ หมายถึง ร่างกาย

ซื้อ หมายถึง เย็น ร่ม ชื้น

ซ่อง หมายถึง ที่อยู่

แถกขวัญ หมายถึง ทำให้ตกใจ

ปวัตน์ หมายถึง ความเป็นไป

ผาย หรือ ผ้าย หมายถึง เคลื่อนจากที่

ม่าน หมายถึง ชนชาติพม่า

รำบาญ หมายถึง รบ

ลาญ หมายถึง แตก หัก ทำลาย

สัตตรัตน์ หมายถึง แก้ว ๗ ประการ ได้แก่ สุวรรณ(ทอง) หิรัญ(เงิน)

มุกดาหาร(มุกดา) มณี(ทับทิม) ไพฑูรย์ วิเชียร

(เพชร) และ ประพาฬ(โกเมน)

แต่ในที่นี้หมายถึง แก้ว ๗ ประการของ

พระจักรพรรดิ ได้แก่ ช้างแก้ว นางแก้ว ขุนพล

แก้ว ขุนคลังแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี และ จักรแก้ว

สังเวช หมายถึง สลดใจ

หางยาม หมายถึงหางคันไถตรงที่มือถือ

อธึก หมายถึง ยิ่ง เกิน มาก

ดุษณีหมายถึง นิ่ง

วิตถารหมายถึง นอกทาง

ไศลหมายถึง เขาหิน

 

 

 

 

 

 

ความรู้เสริม

 

กลอนดอกสร้อย

 

กลอนดอกสร้อยเป็นลำนำสำหรับร้องเช่นเดียวกับเสภา ในสมัยก่อนใช้เป็นบทขับร้องแก้กันระหว่างชายหญิง ต่อมาเหลือแต่ดอกสร้อยสุภาษิต ซึ่งใช้เป็นบทฝึกหัดร้องเพลงแก่เด็กๆ

กลอนดอกสร้อย บทหนึ่งมี ๘ วรรค วรรคละ ๖๘ คำ แต่มักจะลง ๘ คำ เพราะเข้าทำนองขับร้องได้สะดวก ขึ้นต้นบท ๔ คำ เช่น มดเอ๋ยมดแดง ดอกเอ๋ยดอกแก้ว เด็กเอ๋ยเด็กน้อย แล้วลง “เอย” ทุกบท ดังนี้

 

อ๋ย


เอย

 

 

 

 

 

 

ข้อบังคับ

  1. กลอนดอกสร้อย ๑บท มี ๔ คำกลอน (๔ บรรทัด) ๘ วรรค วรรคหนึ่งใช้คำประมาณ ๖๘ คำ
  2. วรรคแรกจะมี ๔ คำ คำที่ ๑ และ ๓ จะใช้คำซ้ำกัน คำที่ ๒ จะใช้คำว่า เอ๋ย ส่วนคำที่ ๔ ใช้คำใดก็ได้แต่ต้องส่งสัมผัสไปยังวรรคที่ ๒ ตามแผนผังข้างต้น
  3. กลอนดอกสร้อยต้องลงท้ายด้วยคำว่า เอย เสมอ แต่ถ้าเป็นกลอนดอกสร้อยที่ประกอบอยู่ในบทละครจะไม่ลงท้ายด้วยคำว่า เอย
  4. ตำแหน่งสัมผัสและการใช้คำที่มีวรรณยุกต์ท้ายวรรค ใช้เหมือนกลอนสุภาพทั่วๆไป คือ
  • คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ กำหนดให้ใช้คำเสียงวรรณยุกต์ใดก็ได้ แต่ไม่นิยมคำเสียงวรรณยุกต์สามัญ
  • คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ กำหนดให้ใช้คำเสียงวรรณยุกต์เอก โท และ จัตวา
  • คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ และ ๔ กำหนดให้ใช้คำเสียงวรรณยุกต์ สามัญ และตรี

 

ข้อควรจำ

กลอนดอกสร้อยนั้นเป็นกลอนที่นำไปใช้ขับร้อง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แบบทดสอบ

 

  1. กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้ามีที่มาจากกวีนิพนธ์เรื่องอะไร
  2. กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าได้คัดมาให้ศึกษาจำนวนกี่บท
  3. กลวิธีในการแต่งกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าคืออะไร
  4. การเปลี่ยนพืชพรรณของตะวันตก คือ ต้นไอวี มาเป็นไทยคืออะไร
  5. ในสัตตรัตน์ สุวรรณ คือ อะไร
  6. งานประพันธ์ประเภท elegyในทางราชบัณฑิตยสถานใช้ว่าอะไร
  7. พระยาอุปกิตศิลปสารได้ประพันธ์กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าจากต้นฉบับแปลของท่านใด
  8. การนำตัวบทวรรณคดีตะวันตกมาแปลและดัดแปลงให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมไทยนั้น นับว่าเป็นลักษณะเด่นประการหนึ่งของการประพันธ์วรรณคดีในรัชสมัยใด
  9. ลักษณะของกลอนดอกสร้อยในบทละครมีลักษะแตกต่างไปจากกลอนดอกสร้อยทั่วไปอย่างไร
  10. กลอนดอกสร้อยนั้นเป็นกลอนที่นำไปใช้ในด้านใด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เฉลยแบบทดสอบ

 

  1. Elegy Written in a Country Churchyard
  2. ๒๑ บท
  3. การแต่งดัดแปลงให้เข้าธรรมเนียมไทย
  4. เถาวัลย์
  5. ทอง
  6. บทร้อยกรองกำสรด
  7. เสฐียรโกเกศ
  8. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
  9. จะไม่มีการลงท้ายด้วยคำว่า เอย
  10. การขับร้อง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า

 

จัดทำโดย

 

  1. เด็กชายปฏิภาณ ศิวกุล เลขที่ ๑๒
  2. เด็กชายภูวนัย มณีเนตร เลขที่ ๑๘
  3. เด็กหญิงพนิดา โพธิ์ทอง เลขที่ ๔๑
  4. เด็กหญิงมุฑิตา รังษีกาญจน์ส่อง เลขที่ ๔๕
  5. เด็กหญิงปิ่นสุดา พรมกลาง เลขที่ ๕๙

 

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/๑๐

 

เสนอ

นางศิริเพ็ญ ไชยยนต์

 

กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาภาษาไทย (ท๒๒๑๐๑)

ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๓

โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จังหวัดอุบลราชธานี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำนำ

 

กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาภาษาไทย

(ท๒๒๑๐๑) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านได้ศึกษารายละเอียดจากบทกลอนดอกสร้อยที่มุ่งแสดงถึงหลักความเป็นจริงของชีวิตคือ “ชีวิตล้วนเป็นอนิจจังไม่มีความเที่ยงแท้แน่นอน” และแสดงสิ่งอื่นๆอีกซึ่งเป็นการสอนการประพฤติตน สามาถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี หากกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าฉบับนี้มีข้อผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

 

 

 

 

 

 

 

คณะผู้จัดทำ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สารบัญ

 

ประวัติผู้แต่ง

ผลงาน

คุณค่าของคำประพันธ์

จุดประสงค์ของการแต่ง

เนื้อเรื่อง

เนื้อเรื่อง (การ์ตูน) ๑๓

ข้อคิดที่ได้๑๗

คำศัพท์๑๘

ความรู้เสริม เรื่อง กลอนดอกสร้อย๑๙

แบบทดสอบ๒๑

เฉลยแบบทดสอบ๒๒

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บรรณานุกรม

 

 

  1. หนังสือคู่สร้างภาษาไทย เล่ม ๒

 

  1. หนังสือคู่มือเตรียมสอบภาษาไทย ม.

 

  1. หนังสือสรุปเข้มเตรียมสอบภาษาไทย ม.

 

  1. http://www.dek-d.com

 

  1. http://www.google.co.th

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

พระยาอุปกิตศิลปสาร